ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
คำสำคัญ:
กฎหมายควบคุมอาคาร, การบังคับใช้กฎหมายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิวัฒนาการและประวัติความเป็นมาของกฎหมายควบคุมอาคารที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศไทย 2) ศึกษากฎหมายควบคุมอาคารที่ใช้บังคับอยู่ในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส เปรียบเทียบกับของประเทศไทย 3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารของเจ้าพนักงานท้องถิ่น 4) เสนอแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายควบคุมอาคารของประเทศไทย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยศึกษาหลักการและแนวคิดทฤษฎีทางกฎหมายควบคุมอาคาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยการวิเคราะห์ตีความเอกสารทางกฎหมาย
ผลการวิจัยพบว่า
1. การสร้างอาคารบ้านเรือนของราษฎรในอดีตไม่มั่นคงแข็งแรง และเป็นอันตรายต่อสาธารณะคือวิวัฒนาการที่นำมาสู่การตรากฎหมายควบคุมอาคารของไทยที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
2. เหมือนกรณีของประเทศสหรัฐของอเมริกา และประเทศฝรั่งเศสที่แรกเริ่มด้วยการควบคุมการก่อสร้างโดยเน้นไปที่ความมั่นคงปลอดภัย และต่อมาขยายไปสู่การควบคุมอาคารเพื่อประโยชน์ด้านการผังเมือง การสถาปัตยกรรม และสิ่งแวดล้อมในเวลาต่อมา อันส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงาน
3. ขณะที่ประเทศไทยการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานมีปัญหาเพราะมีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายจำนวนมาก การใช้ดุลพินิจได้อย่างกว้างขวางไม่มีหลักเกณฑ์จำกัดการใช้ดุลพินิจ เจ้าพนักงานออกคำสั่งโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการออกคำสั่งทางปกครองก็ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ กระทบต่อมาตรฐานการปฏิบัติราชการ และการกำหนดมาตรการบังคับทางปกครองส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อน มีการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ทำให้มาตรการบังคับไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสม
4. โดยเสนอแนะว่า ควรมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายควบคุมอาคารให้มีการจำกัดดุลพินิจของเจ้าพนักงานลงในการออกคำสั่งทางปกครอง หากเป็นอาคารขนาดใหญ่ ควรตั้งเป็นคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาออกคำสั่ง หากเป็นอาคารขนาดเล็กให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย
References
ขนบ มากบุญ. (2549). ปัญหาทางกฎหมายในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.36/2547
ธิดารัตน์ วันชัย. (2545). มาตรการบังคับทางปกครอง: ศึกษากรณีการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการรื้อถอนอาหารตามกฎหมายควบคุมอาคาร. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
บวรวิทย์ เปรื่องวงศ์. (2543). อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ศึกษาเฉพาะกรณีกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปราโมทย์ ประจนปัจจนึก. (2557). รัฐ: หลักทั่วไปในเอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารการปกครองท้องที่ หน่วยที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มนตรี บัวมาก. (2557). ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการอาคารสูงตามกฎหมายควบคุมอาคาร.(วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
มะลิวัลย์ โกสุมภ์. (2554). ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2547). หลักกฎหมายผังเมืองและระบบการผังเมืองของต่างประเทศ กรณีศึกษา: ประเทศสหรัฐอเมริกา. เสนอต่อกรมโยธาธิการและผังเมือง. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2547). หลักกฎหมายผังเมืองและระบบการผังเมืองของต่างประเทศ กรณีศึกษา: ประเทศฝรั่งเศส. เสนอต่อกรมโยธาธิการและผังเมือง. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรีย์ สิงห์ทอง. (2556). ปัญหากฎหมายควบคุมอาคารที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์: ศึกษาเฉพาะกรณีกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เสถียร เจริญเหรียญ. (2550). ประมวลข้อบังคับอาคาร (Building Code) ของประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารกรมโยธาธิการและผังเมือง, (21), 23-28.
Donna R. Chritie. (1999). Ocean and Coastal Management Law in a Nutshell. Reno, NV. USA.: West Academic Publishing.
George N. Thomson. (1972). Preparation and Revision of Building Codes, Urban Land Use Policy: The Central City. New York: Free Press.