ปัจจัยการจัดการนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดนครพนม

Main Article Content

วศิน เพชรพงศ์พันธ์
เทวิน โคตรธรรม
กิตติศักดิ์ ภูตะลุน
อนุชา ศรีสกุลธนไชย
อัคคิเดด เกตอู่คำ
ปันยาสุก วรสาน
ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลด้านภาวะผู้นำนวัตกรรมต่อความสำเร็จขององค์กร 2) ศึกษาอิทธิพลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อความสำเร็จขององค์กร 3) ศึกษาอิทธิพลด้านทรัพยากรมนุษย์ต่อความสำเร็จขององค์กร 4) ศึกษาอิทธิพลด้านการมุ่งเน้นตลาดต่อความสำเร็จขององค์กร 5) ศึกษาอิทธิพลด้านกระบวนการส่งเสริมนวัตกรรมต่อความสำเร็จขององค์กร และ 6) ศึกษาอิทธิพลด้านพลวัตการเรียนรู้ต่อความสำเร็จขององค์กร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนครพนม จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loadings) อยู่ระหว่าง .719- .961 และมีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s alphas coefficient) อยู่ระหว่าง .907-.944 และวิเคราะห์ผลด้วยสมการถดถอยพหุคุณ (Multiple Regressions analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยทั้ง 6 ด้าน ร่วมกันอธิบายประสิทธิผลได้ร้อยละ 56.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F = 57.394 p = .000 Adj R2 = .564)
1. ด้านภาวะผู้นำนวัตกรรมมีอิทธิพลต่อความสำเร็จขององค์กรที่ - .085 อย่างไม่มีนัยสำคัญที่ .361
2. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อความสำเร็จององค์กรที่ .254 อย่างมีนัยสำคัญที่ .039
3. ด้านทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลต่อความสำเร็จององค์กรที่ - .191 อย่างไม่มีนัยสำคัญที่ .092
4. ด้านการมุ่งเน้นตลาดมีอิทธิพลต่อความสำเร็จององค์กรที่ .089 อย่างไม่มีนัยสำคัญที่ .264
5. ด้านกระบวนการส่งเสริมนวัตกรรมมีอิทธิพลต่อความสำเร็จององค์กรที่ .387 อย่างมีนัยสำคัญที่ .000
6. ด้านพลวัตการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อความสำเร็จององค์กรที่ .335 อย่างมีนัยสำคัญที่ .007

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ฐากูร อนุสรณ์พาณิชกุล. (2563). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการจัดการนวัตกรรมที่มีผลต่อความสำเร็จวิสาหกิจชุมชน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 14-25.

ดนัย เทียนพุฒ. (2550). ดัชนีวัดผลสำเร็จธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ไทยเจริญการพิมพ์.

ธนบัตร ก่อแก้ว. (2562). การสร้างนวัตกรรมองค์กร กรณีศึกษา ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/590.ru

ปิยะดา พิศาลบุตร. (2564). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี. เข้าถึงได้จาก https://tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์. (2547). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: งานส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.

รวิภา ธรรมโชติ. (2561). นวัตกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของไทยเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในประชาคมอาเซียน กรณีศึกษาบริษัทปูนซิเมนต์ไทย มหาชน จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน). วารสารรัชต์ภาคย์, 12(25), 186-198.

รัชมงคล ทองหล่อ และคณะ. (2562). นวัตกรรมทางธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจสยาม สเตเดียม โฮสเทล: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. Humanities, Social Sciences and arts, 12(3), 183-198.

วสุธิดา นักเกษม และประสพชัย พสุนนท. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 11(1), 2148-2167.

สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. วารสารวิจยวิชาการ, 2(2), 121-134.

Kaplan, D. (2000). Structural Equation Modeling. Thosand Oaks, California: Sage Publications,

Leal-Rodríguez, A. L., Ariza-Montes, A. J., Morales-Fernández, E. (2017). Green innovation, indeed a cornerstone in linking market requests and business performance.

Evidence from the Spanish automotive components industry. Technological Forecasting & Social Change, 129, 185-193.

QINGYA LI. (2564). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากงานประจำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Wayne K. Hoy, Cecil G. Miskel. (2001). Educational Administration: Theory, Research and Practice. (6th ed.). Boston: Mc Graw-Hill International Edition.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.