การศึกษาปัญหาพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ : การเข้าถึงบริการสาธารสุข จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทโธ (วงศ์ใส) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูปลัดธันรบ โชติวํโส (วงศ์ษา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สันติพงษ์ มูลฟอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัญหาพระภิกษุสงฆ์และสามเณร, ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ, การเข้าถึงบริการสาธารสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลของพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ 2) ศึกษาปัญหาการเข้าถึงการบริการสาธารณสุข พระภิกษุสงฆ์และสามเณร ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระภิกษุสงฆ์และสามเณร ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ในพื้นที่ 5 อำเภอ (1) หางดง จำนวน 104 รูป (2) ชัยปราการ จำนวน 32 รูป (3) ฝาง จำนวน 60 รูป (4) เวียงแหง จำนวน 17 รูป (5) ดอยสะเก็ด จำนวน 14 รูป รวมทั้งสิ้น 227 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนปฏิบัติการ แบบสำรวจข้อมูลพระสงฆ์ สามเณร กรณีที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและนำเสนอข้อมูลจากแบบสำรวจ ข้อเสนอแนะ ควรมีการกำหนดเลขประจำตัว 13 หลักให้พระภิกษุสงฆ์และสามเณรที่ ไร้รัฐ ไร้สัญชาติและกลุ่มรหัส G เพื่อให้เข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาล หรือจัดตั้งกองทุนดูแลสุขภาพและเข้าถึงการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ศึกษาข้อมูลของพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ พบว่า การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานประชาชนจำเป็นจะต้องมีหมายเลขประจำตัว 13 หลักเข้าสู่ระบบการทะเบียนราษฎร ถึงจะได้รับสิทธิในที่อยู่อาศัย ความมั่นคงในการดำรงชีวิต การเข้าถึงการศึกษา การรักษาพยาบาล การได้รับความคุ้มครองเยียวยา เข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรมจากภาครัฐ และสิทธิการบริการด้านสาธารณสุขเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีตามสิทธิความเป็นมนุษย์
2. ศึกษาปัญหาการเข้าถึงการบริการสาธารณสุข พระภิกษุสงฆ์และสามเณร ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า พระภิกษุสงฆ์และสามเณร ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ไม่มีสถานะทำให้การเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา ไม่มีใบรับรองการบวช การออกหนังสือสุทธิ การเข้าถึงการบริการสาธารณสุข การรักษาพยาบาล การไม่มีสิทธิประกันสุขภาพใดๆ ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ดังนั้น ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันส่งเสริมให้พระภิกษุสงฆ์และสามเณร ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ มีสิทธิที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น

References

กระทรวงมหาดไทย. (2565). หนังสือสั่งการ ที่ มท 0309.1/ว 5784 ลว. 30 กันยายน 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.bora.dopa.go.th/images/snbt/book/62/mt03091_v5784.pdf?fbclid =IwAR3UyQDKBt8ORcWCw3_CK-4IzdWLNyUjCDptARNqa6gENK2zT4swSOdFqgQ

พระมหาประพันธ์ สิริปญฺโญ และคณะ. (2563). สิทธิและเสรีภาพของพระภิกษุสงฆ์ในกฎหมายไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 409-423.

ศิวนุช สร้อยทอง และคณะ. (2562). การจัดการความยุติธรรมเกี่ยวกับสถานะบุคคลตามกฎหมาย: กรณีศึกษา พระเณรแห่งวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(2), 34-46.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษา ที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย และแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของเด็กนักเรียน นักศึกษา ที่มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร G ให้เป็นเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก. เข้าถึงได้จาก https://supportspb3.thai.ac/client-upload/supportspb3/download/.pdf

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). สถิติบุคลากรและศาสนสถานทางศาสนาในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก http://ittdashboard.nso.go.th/preview.php?id_project=56

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2565). คำอธิบายสรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505. เข้าถึงได้จาก https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/486/iid/5837

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)