การบริหารงานวิชาการยุคนิวนอร์มัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การบริหาร, การบริหารงานวิชาการ, นิวนอร์มัล, อิทธิบาท 4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการยุคนิวนอร์มัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองบัวลำภู และ 2) เสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการยุคนิวนอร์มัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองบัวลำภู การวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 186 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานวิชาการยุคนิวนอร์มัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวม และรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ( = 4.70, S.D. = 0.15) รองลงมา คือ ด้านการวัดผลประเมินผลโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ( = 4.61, S.D. = 0.17) ด้านการพัฒนาหลักสูตร ( = 4.60, S.D. = 0.07) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ( = 4.54, S.D. = 0.02)
2. แนวทางในการบริหารงานวิชาการยุคนิวนอร์มัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองบัวลำภู ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในประเด็นต่อนี้ คือ มีความเพียรในการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับการจัดการเรียนการสอน มุ่งมั่นส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนควรมุ่งเน้นให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เอาใจใส่ในการพัฒนาและการนำสื่อไปใช้ให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และมีใจรักส่งเสริมให้ครูได้รับการอบรมในการสร้างเครื่องมือวัดผลประเมินผลที่ครอบคลุมและหลากหลาย
References
กัญญลักษณ์ จันทรวิบูลย์. (2562). แนวทางส่งเสริมการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 สำหรับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการนนทบุรี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 59-70.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2562). รวมบทความบริหารการศึกษากับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษาในยุคดิจิทัล ชุดที่ 1. สมุทรปราการ: สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: แอล ที เพรส.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). คนไทยสู่ยุคไอที. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.
พระมหาสุพิชฐพล ชิตวิริโย (เชื้อกุล) และคณะ. (2565). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 10(3), 1031-1046.
พระอนันต์ ธมฺมวิริโย (นามทอง) และคณะ. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 263-267.
พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ. (2563). NEW NORMAL การปรับตัวเพื่อการศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 56-70.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี. (2561). การจัดการห้องเรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และคณะ. (2565). การวิจัยแบบผสมผสานวิธี: กระบวนทัศน์การวิจัยในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ปัญญา, 1(3), 66-85.
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชตภาคย์, 15(40), 33-41.
อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์. (2560). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ตามแนวคิด คุณลักษณะความเป็นผู้นำทางทหารและความมั่นคงของชาติในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Blaustein, Eric Barry. (1984). Managing Management Information System (MIS) Development in federal Government. Dissertation Abstracts International, 45, 1517-A.
Casmar, S. P. (2001). The adoption of computer technology by faculty in a college of education: an analysis of administrative planning issues. (Doctoral dissertation). USA: Washington State University.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.