ทักษะการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4

Main Article Content

ธัญฬวณัฐ สีชมภู
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง
ทวี สระน้ำคำ
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพละ 4 โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ทักษะการทำงานเป็นทีม รองลงมา คือ ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะการสื่อสาร และทักษะการตัดสินใจ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติน้อยสุด คือ ทักษะการแก้ปัญหา
2. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพละ 4 ที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ทักษะการทำงานเป็นทีม ควรมอบหมายงานให้ปฏิบัติตามความรู้ความสามารถ และเปิดโอกาสให้ครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลงานหรือแสดงความสามารถ 2) ทักษะการใช้เทคโนโลยี ควรมีความรู้ความสามารถในการจัดหาเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการบริหารงานต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม 3) ทักษะการสื่อสาร ควรสร้างความเข้าใจและมอบหมายงานเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน และประสานหน่วยงานอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) ทักษะการตัดสินใจ ควรบริหารจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษาโดยเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วม และใช้หลักประชาธิปไตยในการตัดสินใจ และ 5) ทักษะการแก้ปัญหา ควรให้ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21, 28 กรกฎาคม 2559, (หน้า 301-313). กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ปัทมา ประทุมสุวรรณ. (2562). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พระถนัด วฑฺฒโน (บุตรสวัสดิ์). (2552). การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศรัณญ อุทยวโร (ปิ่นอำคา). (2561). ภาวะผู้นำตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวุธ ปญฺญาวชิโร (เพชรไพร). (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

สมคิด บางโม. (2555). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 1-7.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมตรี.

Churches Andrew. (2021). Century Pedagogy. Retrieved from http://edorigami.edublogs.org/2008/08/16/21st-century-pedagogy

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Miller, D. (1998). Enhancing Adolescent Competence: Strategies for Classroom Management. Washington: An International Thomson Publishing Company.