การประยุกต์พุทธปรัชญาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุ โรงเรียนอาวุโสศึกษา เทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

Main Article Content

บุญวัฒน์ บุญทะวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางและกระบวนการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ 2) ประยุกต์พุทธปรัชญาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุโรงเรียนอาวุโสศึกษาเทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการประชุมระดมความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วม จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 คน และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. เทศบาลตำบลนาอ้อ ได้กำหนดแนวทางและกระบวนการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุโดยนำหลักพุทธปรัชญาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นมาประยุกต์ โดยการพัฒนาสุขภาวะภายใน คือ ด้านอารมณ์ ด้านการบริโภคปัจจัย 4 ด้านพฤติกรรม และแนวทางการพัฒนาสุขภาวะภายนอก ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม โดยมีกระบวนการพัฒนาสุขภาวะภายใน ได้แก่ การให้ความรู้โดยเชิญวิทยากรทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์มาบรรยายให้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การเล่นโยคะ กิจกรรมการเรียนรู้ เช่น เกมคณิตศาสตร์ การวาดภาพและระบายศรี และกิจกรรมนันทนาการ เช่น การรำวงมาตรฐาน การเล่นกีฬาพื้นบ้าน ส่วนกระบวนการพัฒนาสุขภาวะภายนอก ประกอบด้วยกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ เช่นการเก็บขยะ การออกเยี่ยมบ้าน กิจกรรมฝีมือ เช่นการทำขันหมากเบง การทำเครื่องจักรสาน กิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจครอบครัว เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นต้น
2. แนวทางและกระบวนการบนฐานพุทธปรัชญาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะภายใน คือมีสติสัมปชัญญะ รู้จักควบคุมอารมณ์ของตน เห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้เท่าทันและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง รู้เข้าใจถึงวงจรของสรรพสิ่งที่มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ปล่อยวางคลายทุกข์ลงได้ ส่วนสุขภาวะภายนอกได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนนักเรียน รู้สึกเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ ใช้สอยสิ่งของอย่างรู้คุณค่ามีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนบ้าน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลชื่นชมยินดีต่อกันในยามทุกข์สุข ครองตนตามเหมาะสมกับภาวะของตน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

กิตติคุณ ด้วงสงค์ และคณะ. (2561). รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). คู่มือการดูแลสุขภาพใจสำหรับผู้สูงอายุ “สูงวัยด้วยใจสุข”. กรุงเทพฯ: เรือนปัญญา.

ทิพวรรณ สุธานนท์. (2556). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมบัติ ประจญศานต์ และคณะ. (2557). แนวทางพัฒนสุขภาวะด้านสังคมของผู้สูงอายุในพื้นที่ลำน้ำห้วยจระเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2), 21-29.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานสถิติจังหวัดเลย. เข้าถึงได้จาก https://loei.nso.go.th/

เสาวภา สุขประเสริฐ และคณะ. (2556). สุขภาวะชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมในองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสองรัก จังหวัดเลย. (รายงานการวิจัย). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

อุเทน ลาพิงค์. (2561). การพัฒนาสุขภาวะทางสังคมของผู้สูงอายุโดยใช้สังคหวัตถุ 4 ในภาคเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(2), 233-243.