บทบาทของรัฐต่อการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชนศรีสวัสดิ์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
บทบาทของรัฐ, การแก้ไขปัญหา, การระบาดของโรคโควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์แก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 2) ศึกษาบทบาทของรัฐต่อการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรค และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาบทบาทของรัฐต่อการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการประยุกต์ตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม โดยการสำรวจพื้นที่ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน โดยใช้แบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สถานการณ์แก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน ภาครัฐได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปในวงกว้าง คำสั่งออกให้ภาคประชาชนปฏิบัติตามซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคยกับวิถีชีวิตโดยปกติ จึงทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา
2. บทบาทของรัฐต่อการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรค มี 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค รัฐบาลสั่งการเป็นนโยบายลงมา ประกาศเป็นโรคร้ายแรงควบคุม กฎหมาย คำสั่ง จังหวัดตั้งคณะกรรมการสั่งการลงไปยังหน่วยงานต่างๆ บูรณาการร่วมกัน เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานลงพื้นที่ 2) ด้านการแพทย์และสาธารณสุข รัฐบาลมอบนโยบายจัดตั้งภาคีเครือข่าย รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในด้านภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการรักษาพยาบาล และที่เด่นชัดที่สุดคือการจัดสรรวัคซีนแก่ประชาชนทุกคนอย่างพอเพียงและไม่มีค่าใช้จ่าย และ 3) ด้านการช่วยเหลือเยียวยา ภาครัฐออกมาตรการดูแลช่วยเหลือเยียวยาประชาชนมาหลายโครงการ ทั้งในส่วนของนโยบายของรัฐบาลสู่ประชาชนโดนตรงและรัฐบาลสั่งมอบนโยบายลงมาทางหน่วยงานภาครัฐ
3. แนวทางการพัฒนาบทบาทของรัฐต่อการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการประยุกต์ตามหลักพุทธธรรม ผู้วิจัยจึงได้นำหลักสังคหวัตถุ 4 มาประยุกต์ ดังนี้ ด้านทาน ด้านปิยวาจา ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตตา
References
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม. (2563). ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด-19 จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม.
พระชินกร สุจิตฺโต (ทองดี). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการเมืองสำหรับประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัฐกูล เสนารา. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40ก, หน้า 14-17.
วลัยพร รัตนเศรษฐ์ และคณะ. (2563). บทบาทของภาครัฐในการบริหารจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. วารสารบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 71-87.
สมชาย ปรีชาศิลปะกุล. (2564). การเมืองและรัฐไทยในการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19. วารสารพัฒนศาสตร์, 4(1), 1-11.
สุพัตรา รุ่งรัตน์ และคณะ. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. (รายงานการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
อภิวดี อินทเจริญ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 19-30.