การวิเคราะห์การบริโภคที่เกินพอดีของมนุษย์ในสังคมไทยปัจจุบัน ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาท
คำสำคัญ:
การบริโภคที่เกินความดี, หลักพุทธปรัชญาเถรวาท, การส่งเสริมการบริโภคบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาบริโภคที่เกินความพอดีของมนุษย์ในสังคมไทยในปัจจุบัน 2) ศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ส่งเสริมการบริโภคที่พอดีของมนุษย์ 3) ศึกษาวิเคราะห์การบริโภคที่พอดีของมนุษย์ในสังคมไทยปัจจุบัน ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งเป็นวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์แบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. มนุษย์ในสังคมไทยสภาพปัญหาปัจจุบันมีการบริโภค การใช้สอยสินค้าเพื่อการดำรงชีวิตและเพื่อให้มีกำลังในการทำงานที่เกินพอดีต่อชีวิตของแต่ละคน เช่น การทานอาหารในเวลากลางคืน การดื่มเหล้า เบียร์และสิ่งมึนเมาอื่นๆ และขาดการตรึกตรอง ใคร่ครวญ พิจารณาการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นเหตุให้คนไทยเกิดโรคทางกาย เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
2. ส่วนหลักพุทธปรัชญาเถรวาทหรือเรียกอีกชื่อว่า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการบริโภคที่พอดีและพอควรต่อการดำรงชีวิตของคนไทย ได้แก่ หลักความระลึกรู้เท่าทันก่อนการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม (สติสัมปชัญญะ) รู้จักประมาณการในการบริโภคอาหาร (โภชเนมัตตัญญุตา) และคิดในใจอย่างแยบยลมีเหตุผล (โยนิโสมนสิการ)
3. เมื่อนำหลักพุทธปรัชญาเถรวาทไปวิเคราะห์การบริโภคที่เกินพอดีของมนุษย์ในสังคมไทยในปัจจุบัน ทำให้ทราบว่า มนุษย์บริโภคเกินความพอดี จะระลึกนึกรู้อาการของจิตที่กำลังหิวกระหายอยากรับประทานอย่างเต็มที่ หรือนึกขึ้นได้จนรู้ตัวว่า ไม่ควรรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่เกินความพอดีของร่างกาย หากใครมีจิตนึกคิดรู้เท่าทัน รู้จักการบริโภคแต่พอดี โดยเอาหลักสติสัมปชัญญะ รู้จักประมาณการในการบริโภคอาหาร โภชเนมัตตัญญุตา และคิดในใจอย่างแยบยลมีเหตุผล โยนิโสมนสิการ มาประพฤติปฏิบัติ จึงจะได้รับประโยชน์ทางโภชนาการอย่างแท้จริง
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2525). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: คณะระดมธรรม และธรรมสถาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระไพศาล วิสาโล. (2566). ทำความเข้าใจบริโภคนิยม: คู่ปรับของเศรษฐกิจพอเพียง. เข้าถึงได้จาก http://www.visalo.org/article/budKarnsermsang.html
พระมหาปรีชา บุญศรีตัน. (2564). พุทธจริยธรรมกับการบริโภคอาหาร: ศึกษาเฉพาะกรณีเกณฑ์ทางจริยธรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาชมรมพุทธฯ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระสนั่น ธมฺมวิชโย (วงศ์สมบูรณ์). (2549). ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องการใช้เศรษฐศาสตร์แนวพุทธกับลัทธิบริโภคนิยม: ศึกษาฉพาะกรณีชุมชนเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แสวง นิลนามะ. (2551). จริยธรรมการบริโภคในพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.