วิเคราะห์กระบวนการของขันธ์ 5 ตามหลักพุทธญาณวิทยา

Main Article Content

พระแก้ว ฐิตสีโล (สุดเฉลียว)
พระเทพวชิรวิมล
พระมหาสากล สุภระเมธี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการของขันธ์ 5 ในพุทธปรัชญา 2) ศึกษาหลักพุทธญาณวิทยาที่สัมพันธ์กับกระบวนการของขันธ์ 5 และ 3) วิเคราะห์กระบวนการของขันธ์ 5 ตามหลักพุทธญาณวิทยา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาจากพระไตรปิฎก งานวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้เหตุผลและให้เหตุผล แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการของขันธ์ 5 ในพุทธปรัชญา พบว่า ขันธ์ 5 เป็นการรวมส่วนประกอบของกระบวนการแห่งชีวิต ได้แก่ กาย ความรู้สึก ความจำได้หมายรู้ สิ่งปรุงแต่ง ความรู้แจ้ง หรือเรียกอีกอย่างว่า รูปกับนาม ขันธ์ 5 มีความสำคัญในแง่เป็นลักษณะที่นำไปสู่การพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง เพื่อให้ชีวิตหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสสาร
2. หลักพุทธญาณวิทยาที่สัมพันธ์กับกระบวนการของขันธ์ 5 พบว่า ได้แก่ รูปขันธ์ก่อให้เกิดความรู้เชิงรูปธรรม คือ ธาตุ 4 ส่วนอีก 4 ขันธ์ก่อให้เกิดความรู้เชิงนามธรรม ได้แก่ เวทนาขันธ์ คือ ธรรมชาติแห่งการเสวยอารมณ์ที่เป็นไปในกาย สัญญาขันธ์ คือ ความรู้อาการและเครื่องหมายต่างๆ ที่ถูกรู้ได้โดยอาศัยอายตนะทั้ง 6 สังขารขันธ์ คือ ความรู้ในเจตนาเป็นตัวนำตกแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว วิญญาณขันธ์ คือ ความรู้แจ้งในอารมณ์ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และทางใจ
3. เมื่อนำหลักพุทธญาณวิทยาไปวิเคราะห์กระบวนการของขันธ์แล้ว ทำให้ทราบว่า สรรพสิ่งล้วนเกิดมาจากการปรุงแต่งหรือประกอบขึ้นจากธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และยังมีองค์ประกอบอีก 4 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยที่เวทนาเป็นแดนก่อให้เกิดความรู้ในเรื่องความรู้สึกสุข สัญญา เป็นแดนก่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับระบบความจำ สังขาร เป็นแดนก่อให้เกิดความเกี่ยวกับตัวตน และวิญญาณ เป็นแดนก่อให้เกิดความรู้แจ้งในอารมณ์มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

พระปรีดา อภิวโร (บัวสด). (2560). ศึกษาทุกขเวทนาเพื่อการบรรลุธรรมตามแนวเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี (เหมประไพ). (2547). การศึกษาวิเคราะห์ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท: ศึกษาเฉพาะในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพิสูตน์ จนฺทวํโส (พะนิรัมย์). (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับขันธ์ 5 ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาโยธิน โยธิโก. (2561). การจัดการขันธ์ 5 เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2549). มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน (พระคันธสาราภิวงศ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ไทยรายวัน.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2564). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.