การศึกษาวิเคราะห์การส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุชาวตำบลสะอาดสมบูรณ์ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

Main Article Content

พระณัฐพงศ์ กวิวํโส (กลางประพันธ์)
พระเทพวชิรวิมล
พระครูสีลสราธิคุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุชาวตำบลสะอาดสมบูรณ์ 2) ศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่สัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพจิต 3) วิเคราะห์การส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุชาวตำบลสะอาดสมบูรณ์ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุหญิงและชาย ตำบลสะอาดสมบูรณ์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาของผู้สูงอายุคือ มีความวิตก กังวล ผู้สูงอายุจะรู้สึกเครียดง่าย ปัญหาการนอนมักจะตื่นกลางดึกบ่อยๆ หรือตื่นเช้ามืด แล้วหลับต่ออีกไม่ได้ อาจนอนตอนกลางวันบ้าง โรคทางกายหลายโรคอาจเป็นปัญหารบกวนการนอนได้ทำให้เสียสุขภาพจิตที่ดี
2. หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่สัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพจิต ตามหลักพุทธธรรมแล้ว ใช้หลักกตัญญูกตเวทิตาธรรม แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ให้ความอุปการะ ที่เรียกว่า “บุพการีชน” กับบุคคลที่รับความอุปการะ ที่เรียกว่า “กตัญญูกตเวทีชน” กตัญญู หมายถึง การรู้จักระลึกถึงบุญคุณที่บุพพการีชนได้กระทำแล้วต่อตน กตเวที หมายถึง การตอบแทนบุญคุณท่านผู้เป็นบุพการีชนของตน
3. ผู้สูงอายุนำหลักพุทธธรรมมาใช้และจัดการอารมณ์เพื่อให้เกิดความสงบทางใจ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ฝึกสติ ฝึกสมาธิ บริหารจิตอย่างสม่ำเสมอ จากการศึกษาพบว่าจะมีผลต่อสุขภาพมาก และนอนหลับได้ดี มีระเบียบวิธีช่วยให้ผู้มีสุขภาพจิตปกติมีความงอกงามและพัฒนาการที่สูงขึ้น จนเข้าสู่ภาวะของความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2554). ความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย ปี 2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ดวงฤดี ลาศุขะ. (2552). การพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: เกษมการพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). สยามสามไตร. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุน การส่งเสริมสุขภาพจิต และวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2559). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. เข้าถึงได้จาก https://thaitgri.org/?wpdmpro&paged=28>

สุรีรัตน์ ณ วิเชียร. (2561). ผลของดนตรีบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 33(3), 36-50.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.