ศึกษาวิเคราะห์เกณฑ์ตัดสินอสังขตธรรมในพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระมหาวราทิต อาทิตวโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระครูจันทธรรมานุวัตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • อุมารินทร์ เลิศสหพันธุ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

เกณฑ์ตัดสิน, อสังขตธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ลักษณะ จำนวน และเกณฑ์ตัดสินอสังขตธรรม ในพระพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่า อสังขตธรรม ในพระวินัยปิฎก อสังขตธรรม มี 2 อย่าง คือ พระนิพพานและบัญญัติ หรืออสังขตธรรมที่มีอยู่จริงกับอสังขตธรรมที่ไม่มีอยู่จริง ในพระสุตตันตปิฎก มี 3 กลุ่มความหมาย คือ ความสิ้นกิเลสทั้ง 3 ประการที่เป็นมูลรากของอกุศลทั้งหลาย ได้แก่ กลุ่มที่ 1) ความสิ้นโลภะ โทสะ โมหะ กลุ่มที่ 2) สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง และกลุ่มที่ 3) สภาวธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ในพระอภิธรรมปิฎก มีหลักฐานการถกเถียงกันเกี่ยวกับจำนวนของอสังขตธรรม และปัญหานั้นก็ยังไม่มีข้อยุติที่ชัดเจนจนถึงทุกวันนี้ เพราะไม่มีหลักฐานของพระสงฆ์ที่มีความเห็นว่า อสังขตธรรมมีหลายอย่าง ได้แต่นำเอาลักษณะของอสังขตธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก มาเป็นบทตั้งแล้วค้นหาคำตอบโดยนำเอาสิ่งที่พระสงฆ์ฝ่ายที่ลงมติว่าเป็นอสังขตธรรมมาเปรียบเทียบกับลักษณะของอสังขตธรรมดังกล่าว ถ้าเปรียบเทียบกันได้ สมเหตุสมผลก็สรุปว่า สิ่งนั้นเป็นอสังขตธรรม คือ สิ่งใดก็ตามที่มีลักษณะของอสังขตธรรมตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก จัดเป็นอสังขตธรรมทั้งหมด แต่เท่าที่ได้ศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบ พบว่า อสังขตธรรมมี 4 ประเภท คือ 1) ประเภทที่มีอยู่จริง ได้แก่ พระนิพพาน 2) ประเภทที่ไม่มีอยู่จริง ได้แก่ บัญญัติ 3) ประเภทที่เป็น กฎธรรมชาติ ได้แก่ กฎของนิยาม กฎของปฏิจจสมุปบาทและกฎของอริยสัจ 4) ประเภทพิเศษ ได้แก่ อากาส
ส่วนเกณฑ์ตัดสินอสังขตธรรม มีอยู่ 4 อย่าง คือ 1) ความสิ้นกิเลส หรือการไม่ถูกปัจจัยคือกิเลสปรุงแต่ง 2) การไม่เป็นไปในกาลทั้ง 3 หรือการไม่เปลี่ยนแปลงในกาลทั้ง 3 คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต 3) การไม่ถูกปัจจัยต่างๆ คือ กรรม เหตุ และฤดู ปรุงแต่งหรือสร้างขึ้น และ 4) การไม่ถูกปัจจัยต่างๆ ปรุงแต่งโดยสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงหรือไม่มีอยู่จริงก็ได้

References

กรมศิลปากร. (2550). คัมภีร์มิลินทปัญหา (ไทย-บาลี). (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ประยูรศ์พริ้นท์ติ้ง.

พระญาณธชเถระ (แลดีสยาดอ). (2546). ปรมัตถทีปนี. กรุงเทพฯ: ไทยรายวัน.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2550). ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเซียง.

พระมหาศักรินทร์ ศศพินทุรักษ์ และพระคันธสาราภิวงศ์. (2515). อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี หลักควรจำบาลีไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเซียง จงเจริญ.

พระสุมังคลาจารย์. (2548). อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). อิทัปปัจจยตา ฉบับครบรอบ 100 ปี พุทธทาสภิกขุ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่ธรรมสภา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏํ 2500. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

______. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2542). อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิยา สห อภิธมฺมตฺถวิภาวินี นาม อภิธมฺมตฺถสงฺคหฏีกา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

_______. (2544). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2535). อภิธานปฺปทีปิกา และอภิธานปฺปทีปิกาสูจิ. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

สมภาร พรมทา. (2531). กาลและอวกาศในพุทธปรัชญาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Article)