ปัจจัยความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ชัญชนก ปรีชาชน วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • เกษมชาติ นเรศเสนีย์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • รัชฎา จิวาลัย วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ชัยฤทธิ์ ทองรอด วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • สุเชาวน์ มีหนองหว้า วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด, ความสำเร็จของโครงการ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด และ 2) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการโครงการกับความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวน 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า  1. ศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1) ด้านความยั่งยืนของการพัฒนาเด็ก (x̅ = 3.53, S.D. = 0.25) 2) ด้านคุณภาพชีวิตของเด็กแรกเกิด (x̅ = 3.49, S.D. = 0.26) และ 3) ด้านความพึงพอใจของผู้มีสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการ (x̅ = 3.48, S.D. = 0.25) ตามลำดับ 2. ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการโครงการกับความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด พบว่า การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson Correlation ในการทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรก 

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2562). รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณชพัฒน์ ศรีหิรัญ และบุญฤทธิ์ ผ่องเมฆินทร์. (2560). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชุมพร. Journal of Business Administration and Languages (JBAL), 5(2), 40-45.

ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี. (2558). รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(3), 140-147.

ปรินดา ตาสี และคณะ. (2563). การศึกษาผลการดำเนินงานการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดสู่ความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารธรรมศาสตร์, 40(1), 168-190.

ศิรพงศ์ โภคินวงศ์หิรัญ. (2562). การประเมินความสำเร็จตามโครงการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยชินวัตร.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)