เวชกรรมในพระไตรปิฎก

ผู้แต่ง

  • พระถวัลย์ โชติโย (หาญไชยนะ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

เวชกรรม, พระไตรปิฎก

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเวชกรรมในพุทธศาสนา จากการศึกษาพระไตรปิฎก พบว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับเวชกรรมและโรคไว้ 2 อย่าง คือโรคทางกายกับโรคทางใจ วิธีการรักษาโรคแบ่งออกเป็น 2 คือการักษาโรคทางกายกับการรักษาโรคทางใจ สำหรับการรักษาโรคทางกายมีวิธีรักษาดังนี้ 1) ใช้อาหารเป็นยารักษา เช่น น้ำข้าวใส น้ำข้าวยาคู ให้ภิกษุอาพาธใช้บำรุงสุขภาพ 2) การพักผ่อนให้ถูกต้องตามอิริยาบถ เช่น นอนตะแคงขวา เป็นต้น 3) การผ่าตัดเนื้องอก 4) ทรงอนุญาตให้ฉันเนื้อและห้ามฉันเนื้อบางชนิด 5) ทรงวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเวลาฉันอาหารเป็นยา เพื่อมิให้ล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ส่วนการรักษาโรคทางใจจะรักษาด้วยธรรมโอสถ คือการใช้ธรรมรักษาผู้ป่วยทางจิต สำหรับธรรมโอสถ ก็จะใช้แตกต่างกันไปตามสภาวะจิตของแต่ละบุคคล

References

ฐิติญาณ บริพันธ์. (2509). สมุนไพรหญิงชายวัยทองชะลอความชราแก้ปัญหาอาการผิดปกติ. กรุงเทพฯ: หอสมุดกลาง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Article)