กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

กัญญาภัค บัวพงษเพชร
ยิ่งสรรค์ หาพา
พระมหาพิสิฐ วิสิฏฺฐปญฺโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 320 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาและการใช้เทคนิค (PNIModified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสถานที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ลำดับตามความต้องการจำเป็น พบว่า ลำดับที่ 1 คือ ด้านความเคารพนับถือ (คารวะตา) ลำดับที่ 2 คือ ด้านความยุติธรรม (อุเบกขา) ลำดับที่ 3 คือ ด้านความไว้วางใจ (ศรัทธา)
2. กลยุทธ์ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์สร้างผู้นำน่าเคารพนับถือ (มีคารวะตาธรรม) 2) กลยุทธ์พัฒนาผู้นำครบความยุติธรรมเท่าเทียมกัน (มีอุเบกขา) และ 3) กลยุทธ์สร้างผู้นำสานสัมพันธ์ไว้วางใจ (มีศรัทธา)
3. การประเมินกลยุทธ์ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนกอร สมปราชญ์. (2546). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ขนิษฐ์ณิชา ทองสุข. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จักรพงศ์ วงศ์พิทักษ์กุล. (2561). กลยุทธ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักเรียนนายสิบตำรวจในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ชุติมา รักษ์บางแหลม. (2559). วิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและประเด็นปัญหาจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ณิชาภา ศิริวัฒน์. (2562). อิทธิพลคั่นกลางอนุกรมของการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับสมาชิกและการให้อำนาจหน้าที่เชื่อมโยงอิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม สู่การแสดงความคิดเห็นของพนักงานองค์การธุรกิจภาคเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นรา สมประสงค์. (2563). รูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารจันทรเกษมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 26(1), 33-45.

นิตยา หอยมุข. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 83-97.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). การสร้างเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและความโปร่งใสขององค์กร. กรุงเทพฯ: ดี.เค.ปริ้นติ้งเวิลด์.

_______. (2552). คู่มือการจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักงานกรรมการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2565-2569. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2560). รายงานประจำปี 2560 กลุ่มวิจัย ติดตามและประเมินผลสำนักนโยบายและแผน. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.

สิวลี ศิริไล. (2550). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความคิดการใช้เหตุผลและจริยธรรม. เอกสารประกอบคำบรรยาย ณ มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา.

สุเทพ ปาลสาร. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

หงษา วงศ์จำปา. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Mowbray, D. (2009). Code of Conduct for Ethical Leadership a Discussion Document. Retrieved from http://www.derekmowbray.co.uk