อารยธรรมลุ่มน้ำชี: ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาในชุมชนอีสาน

Main Article Content

ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ
ปัญญา คล้ายเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมลุ่มน้ำชี ใน ชุมชนอีสาน 2) ศึกษาภูมิปัญญาและแหล่งอารยธรรมลุ่มนํ้าชี ในชุมชนอีสาน 3) เสนอแนวทางในการธำรงรักษาสืบทอดแหล่งอารยธรรมลุ่มนํ้าชี ในชุมชนอีสาน เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยทำการวิจัยเชิงเอกสาร ดำเนินการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 42 คน และดำเนินกิจกรรมในพื้นที่วิจัยในแหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำชีในจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมลุ่มน้ำชีในชุมชนอีสาน พบว่า ชุมชนอีสานมีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี และสมัยล้านช้างเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน บรรพบุรุษคนอีสานได้สร้างวัฒนธรรมประเพณีมากมาย เช่น วัฒนธรรมภาษา งานเทศกาลไหมนานาชาติและประเพณีผูกเสี่ยว ประเพณีงานสงกรานต์อีสานเทศกาลดอกคูนเสียงแคน และงานนมัสการพระธาตุนาดูน
2. ภูมิปัญญาและแหล่งอารยธรรมลุ่มนํ้าชีในชุมชนอีสาน ภูมิปัญญาอีสาน ได้แก่ ภูมิปัญญาอาหาร การแพทย์และสมุนไพร การปั้นหม้อดินเผา และการทอผ้าไหมมัดหมี่ สำหรับแหล่งอารยธรรมจังหวัดขอนแก่น เช่น แหล่งอารยธรรมวัดไชยศรี บ้านสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และแหล่งอารยธรรมจังหวัดมหาสารคาม เช่น แหล่งอารยธรรมวัดป่าเลไลย์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ซึ่งพบหลักฐาน คือหลักศิลาจารึก ใบเสมา พุทธศิลปะโบราณวัตถุ ฮูปแต้มหรือภาพจิตรกรรมฝาผนัง
3. แนวทางการธำรงรักษาและสืบทอดอารยธรรมลุ่มนํ้าชีในชุมชนอีสาน มี 6 แนวทาง คือ 1) สร้างพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) สร้างศิลปะเชิงสร้างสรรค์ 3) สร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 4) สร้างวิสาหกิจชุมชน 5) สร้างเครือข่ายภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 6) สร้างกิจกรรมการพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ณัฐธยาน์ ตั้งถาวรสกุล. (2558). แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทย: กรณีศึกษาศูนย์ศิลปะการแสดง สถาบันคึกฤทธิ์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เทพพร มังธานี. (2554). ฮูปแต้มในสิมอีสาน: ภาพสะท้อนความหลากหลายของลัทธิความเชื่อ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 40-54.

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล. (2554). พัฒนาการของจิตรกรรมฝาผนังอีสาน กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด. (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ และคณะ. (2548). การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวัชรสุวรรณาทร (ลูกชุบ เกตุเขียว) และคณะ. (2561). การผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น: คุณค่าอัตลักษณ์และการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยวัฒนธรรมชุมชน. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.