การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมเพื่อพัฒนาทักษะวิศวกรสังคมของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ดวงพร อุ่นจิตต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ศรวัส ศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ปริตต์ สายสี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • เบญจมาศ พุทธิมา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สมิต ค่อยประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สมชาย เมืองมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ทักษะวิศวกรสังคม, การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมเพื่อพัฒนาทักษะวิศวกรสังคมของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 29 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบอัตนัย และแบบบันทึกผลการสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์สรุปผลแบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า ผลการจัดกิจกรรม ขั้นเตรียมการ นักศึกษารู้และเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินกิจกรรมและบทบาทหน้าที่ของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 89 ขั้นปฏิบัติ นักศึกษาสามารถปฏิบัติการสร้างนวัตกรรมในรูปแบบกิจกรรม จำนวน 3 ฐานการเรียนรู้ ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ DIY กระเป๋าถุงนม เสื้อผ้าพาเพลิน และฉันอยู่หมู่ไหน และขั้นการสะท้อนคิด นักศึกษาได้เรียนรู้ว่า การทำกิจกรรมนี้ดีมีประโยชน์ รู้สึกดี ภาคภูมิใจที่ได้ทำสิ่งดีๆ ให้กับเด็กๆ ให้โรงเรียน ทักษะวิศวกรสังคมเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างพลังบวกให้ทำงานด้วยใจ มีจิตอาสา เป็นแรงขับเคลื่อนในการทำงานเพื่อพัฒนาชุมชน โรงเรียน และสังคมให้มีศักยภาพและคุณภาพ ช่วยทำให้เราได้ฝึกความรับผิดชอบในหน้าที่ตนเองให้ดีที่สุด 

References

ขวัญดาว แจ่มแจ้ง. (2566). การสร้างนวัตกรรม/วิจัย และการเผยแพร่สู่การใช้ประโยชน์. เข้าถึงได้จาก https://regis.sru.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/27-11-2566.pdf

นงรัตน์ อิสโร. (2564). คู่มือพัฒนานักศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการบริการสังคมสำหรับนิสิตครูวิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(19), 30-39.

ปาริชาติ ประเสริฐสังข์. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยการบริการสังคมสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริศักดิ์ เงินไทย. (2564). นวัตกรรมในการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาของสำนักพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์. เข้าถึงได้จาก http://www3.ru.ac.th/mpaabstract/files/2561_1566438557_6014832042.pdf

ศุภรัตน์ รัตนมุขย์. (2556). รายงานผลการดำเนินวิจัยการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมกับการสร้างความเป็นพลเมืองใส่ใจสังคม. เข้าถึงได้จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:87040

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง. (2553). ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism. เข้าถึงได้จาก https://www.moe.go.th/

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2560). ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก https://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/new-gen/262/

สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). การศึกษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิซชิ่ง.

Kaye, C. B. (2014). The complete guide to Service-Learning: Proven, practical ways to engage students in civic responsibility, academic curriculum, and social action. Minneapolis, MN: Free Spirit Publishing. Retrieved from https://www.freespirit.com/files/original/Complete-Guide-Service-Learning-preview-1.pdf

Partnership for 21st century skills. (2012). Framework for 21st century learning. Retrieved from http://www.p21.org/index.php?option=com_content&task=view&id=254&Itemid=120

World Economic Forum. (2024). ARTIFICIAL INTELLIGENCE: This is the one skill we all need in the age of AI. Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2024/01/this-is-the-one-skill-everybody-needs-in-the-age-of-ai/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)