แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่ตะเข็บชายแดนลุ่มแม่น้ำโขงจังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • พระมหาสมศักดิ์ สติสมฺปนฺโน (สมศักดิ์ สินนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย

คำสำคัญ:

แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกัน, โรคโควิด-19, เชิงพุทธบูรณาการ, พื้นที่ตะเข็บชายแดนลุ่มแม่น้ำโขง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2) ศึกษากระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ และ 3) เสนอแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนผู้นำชุมชน จำนวน 30 รูป/คน อาสาสมัครตัวแทนสาธารณะสุข จำนวน 10 รูป/คน ตัวแทนภาคประชาชน จำนวน 30 รูป/คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม แบบการสำรวจ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาตามหลักอุปนัย  ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้แหล่งท่องเที่ยวทุกพื้นที่ของจังหวัดเลยเงียบเหงา บ้านเรือนตลอดสองฝั่งถนนคนเดินปิดเงียบถือเป็นภาพที่แทบจะไม่เคยเกิดขึ้นในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม  2. กระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ ถือเป็นความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ไม่มีความประมาท โดยผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงมักมีอาการของโรคปอดอักเสบอันตรายถึงแก่ชีวิต โรคนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน จากการไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ติดเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเราสามารถเริ่มต้นดูแลตัวเองได้ หากมีความสงสัยว่าพื้นที่มีความเสี่ยงควรหลีกเลี้ยงไม่เข้าไปในสถานที่  3. แนวทางสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ โดยใช้ฐานความคิดทางพระพุทธศาสนาให้เกิดสุขภาวะองค์รวม 4 มิติ คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านปัญญา โดยสุขภาวะแบบองค์รวมจากการพึ่งพากัน การสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีทั้งทางด้านกาย จิต สังคม สอดคล้องกับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา คือหลักภาวนา 4 คือ หลักการทำให้เป็นให้มีขึ้น การฝึกอบรมการพัฒนาด้านกาย ด้านศีล ด้านจิต และด้านปัญญา 

References

กรรณิการ์ แสนสุภา และคณะ. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 79-92.

กันตภณ หนูทองแก้ว และณัฎฐา ม้วนสุธา. (2566). การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตแบบพุทธบูรณาการตามแนวชีวิตวิถีใหม่. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 เรื่องศาสนาและปรัชญา: แนวคิด มุมมอง คุณค่าทางจริยธรรม, 22 มิถุนายน 2566, (หน้า 420-433). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

กายสิทธิ์ แก้วยาศรี และบุญมา สุนทราวิรัตน์. (2564). แนวทางการดำเนินงานและผลกระทบจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(1), 16-34.

นวพร ประสมทอง. (2559). สภาพของกระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมและครอบครัว เข้มแข็งและปัญหาของธุรกิจครอบครัวในการดำเนินงานนวัตกรรม. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 11(2), 63-78

พงษ์พิพัฒน์ ชุ่มสีดา และวินัย ทองภูบาล. (2564). กลยุทธ์การป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 7(1), 158-175.

ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี และภาสินี โทอินทร์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุดรธานี (UdonModel COVID-19). วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(1), 53-61.

องค์การอนามัยโลก. (2565). สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. เข้าถึงได้จาก https://thainews.prd.go.th/th /news/detail/TCATG 2203161 6505 5539

สำนักงานสถิติจังหวัดอุทัยธานี. (2558). แผนพัฒนาสถิติจังหวัดอุทัยธานี. อุทัยธานี: สำนักงานสถิติจังหวัดอุทัยธานี.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. (2563). เอกสารประกอบการตรวจราชการกรณีปกติ 1/2563. ม.ป.ท.

อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(1), 24-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)