ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยในปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • นิพพิชฌน์ เครื่องสนุก มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • มุจลินท์ นทีประสิทธิพร มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ณัฐพร อินทะกันฑ์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • พลอยพัชชา โค้วสุวรรณกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวทางการเมือง, กลุ่มคนรุ่นใหม่, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้นำเสนอเพื่อต้องการศึกษาด้วยกระแสสังคมที่ให้ความสนใจกับขบวนการเคลื่อนไหวรูปแบบใหม่ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยและบางขบวนการเคลื่อนไหวถูกยอมรับพร้อมทั้งมีเสียงตอบรับและได้รับความนิยมชมชอบอย่างแพร่สะพัดในประเด็นขับเคลื่อนทางการเมืองและยุทธวิธีการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันและยังทรงอิทธิพลต่อผู้มีอำนาจได้ไม่มากก็น้อย การใช้ยุทธวิธีเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการรับรู้ต่อสังคมไทยและเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานตามขนบหรือวิถีประชาคือกับดักสำคัญคอยกัดกินเสรีภาพมนุษย์ที่พึงมีจึงเกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมหลากหลายสาขาอาชีพให้เราพบเห็นในพื้นที่ออนไลน์และออฟไลฟ์มากยิ่งขึ้น
จากการศึกษาได้ค้นพบว่า ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวอันส่งผลให้ขบวนการคนรุ่นใหม่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ด้วยยุทธวิธีการสร้างการรับรู้สาธารณะ ยุทธวิธีการอารยะขัดขืน ยุทธวิธีการลงชื่อทางกฎหมาย ยุทธวิธีการระดมมวลชนในโซเชียลมีเดีย ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มดาวดิน กลุ่มยังไพร์ดคลับ กลุ่มนักเรียนเลว กลุ่มเยาวชนปลดแอก ซึ่งกลุ่มเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่เพื่อออกมาชี้มูลปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอีกทั้งการใช้ยุทธวิธีใหม่ในการเคลื่อนไหวต่างจากคนรุ่นเก่า

References

กมลวรรณ ทับทิมทอง และวีระ หวังสัจจะโชค. (2566). การเปรียบเทียบยุทธวิธีและนวัตกรรมการเคลื่อนไหวด้วยสื่อสังคมออนไลน์ของขบวนการเคลื่อนไหว “The Umbrella Movement” กับ “คณะประชาชนปลดแอก”. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 11(1), 1-17.

_______. (2566). ยุทธวิธีและนวัตกรรมการเคลื่อนไหวด้วยสื่อสังคมออนไลน์: ศึกษาเปรียบเทียบขบวนการเคลื่อนไหว “The Umbrella Movement” กับ “คณะประชาชนปลดแอก”. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ. (2549). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในไทย. กรุงเทพฯ: ประชาธิปไตยแรงงาน.

ใจ อึ๊งอาภรณ์ และคณะ. (2544). อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519.

โชติกา พรมเพิก และอจิรภาส์ เพียรขุนทด. (2562). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มดาวดิน. การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5 การบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล: กฎหมาย ความเป็นธรรมและการกลับคืนสู่ประชาธิปไตย, 1-2 พฤศจิกายน 2562, (หน้า 510-521). ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2540). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

นิพพิชฌน์ เครื่องสนุก. (2566). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มยังไพร์ดคลับ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 6(2), 87-101.

เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ. (2555). การเคลื่อนไหวทางสังคมในบริบทของสังคมไทย. วารสารสังคมศาสตร์, 15(1), 145-151.

เพ็ญพรรณ อินทปันตี. (2563). ย้อนอดีต เข้าใจปัจจุบัน ร่วมแก้เพื่ออนาคต: ขบวนการนักศึกษา. เข้าถึงได้จาก https://theactive.net/read/20200731/

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2565). เครื่องแบบ ทรงผม หน้าเสาธง ไม้เรียว: ประวัติศาสตร์วินัยและการลงทัณฑ์ในโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

วุฒิเมศร์ ไกรจริยาเวทย์. (2564). บทบาทของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม "กลุ่มนักเรียนเลว" ในการผลักดันนโยบายด้านการศึกษา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริสุดา แสงทอง. (2564). ความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่: จุดยืนประชาธิปไตยใหม่แห่งอนาคต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 287-297.

อุเชนทร์ เชียงแสน. (2561). การเมืองภาคประชาชน. กรุงเทพฯ: มติชน.

เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์. (2556). พลวัตภายในแนวการวิเคราะห์ขบวนการทางสังคม. วารสารสังคมศาสตร์, 43(1), 181-204.

Edwards, G. (2014). Social movements and protest. New York: Cambridge University Press.

McCarthy, J. & Zald, M. (1977). Resource Mobilization and Social Movements: A Partial Theory. American Journal of Sociology, 82(6), 1212-1241.

Prachathai Online. (2016). เปลี่ยนรูปเปลี่ยนวิธีของขบวนการนักศึกษาจาก 2519 ถึง 2559. เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2016/09/68100

Tarrow, S. (1998). Power in Movement Social movement, collective action and politics. New York: Cambridge University Press.

Tilly, C. (1977). From Mobilization to Revolution. New York: University of Michigan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Article)