ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ชาญชัย ประพาน สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • สุภาวดี วงษ์สกุล สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ตวงทอง นุกูลกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำดิจิทัล, เทคโนโลยีดิจิทัล, การจัดการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู และ 3) วิเคราะห์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 336 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า  1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.40, S.D. = 0.48) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการสื่อสารดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมการใช้ดิจิทัล ด้านการรู้และใช้ดิจิทัล และด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ตามลำดับ  2. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.44, S.D. = 0.40) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ด้านหลักสูตรและเนื้อหาความรู้ ด้านกิจกรรมและการจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ  3. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู พบว่า ด้านการสร้างวัฒนธรรมการใช้ดิจิทัล และด้านการสื่อสารดิจิทัลส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู สามารถอธิบายความแปรปรวนของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครูได้ ร้อยละ 45.80 ในขณะที่ด้านการรู้และใช้ดิจิทัล และด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ไม่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนของครู

References

กมลทิพย์ อินแก้วเครือ. (2564). ทักษะและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14, 18 สิงหาคม 2564, (หน้า 985-991). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กานดา บุญราช และพรทิวา จุลสุคนธ์. (2566). การบริหารการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 3(2), 35-46.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2566). ChatGPT กับการศึกษายุคดิจิทัล. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 15(2), 1-10.

จิตรกร จันทร์สุข และจีรนันท์ วัชรกุล. (2564). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 36-49.

ชัชชญา พีระธรณิศร์. (2563). ความท้าทายการจัดการศึกษาในยุค Disruptive Change ของผู้บริหารสถานศึกษา. Journal of Inclusive and Innovative Education, 4(2), 126-139.

ชุลีพร หล้าทุม และอำนาจ ชนะวงศ์. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 13(4), 47-57.

ชูกิจ ลิมปิจำนงค์. (2564). เรียนวิทย์-คณิต บนฐานสมรรถนะด้วยสื่อดิจิทัล Project 14. เข้าถึงได้จาก https://www.thaipost.net/main/detail/112203

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ฝนทิพย์ หาญชนะ และคึกฤทธิ์ ศิลาลาย. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนสหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 117-133.

ภูรีรัตน์ สุกใส. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มุกดามณี ศรีพงษ์เพริศ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รุ่งรัตน์ พลชัย. (2563). ภาวะผู้นำกับการบริหารในยุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน, 1(3), 53-62.

ไวยวิทย์ มูลทรัพย์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2563). การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลตามแนวทางวิถีชีวิตใหม่ของครู กศน. สังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ประจวบคีรีขันธ์: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุชญา โกมลวานิช และสิทธิชัย สอนสุภี. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 9(2), 159-167.

สุรีรัตน์ รอดพ้น, นเรศ ขันธะรี และสุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(35), 36-45.

AlAjmi, M. K. (2022). The impact of digital leadership on teachers’ technology integration during the COVID-19pandemic in Kuwait. International Journal of Educational Research, 112(2022), 1-10.

Karakose, T., Polat, H., & Papadakis, S. (2021). Examining Teachers’ Perspectives on School Principals’ Digital Leadership Roles and Technology Capabilities during the COVID -19 Pandemic. Sustainability, 13(23), 13448.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)