ปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีบริหารส่วนตำบลอินทร์แปลง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปัญญา แสงโยธา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ปัญญา คล้ายเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ไพฑูรย์ มาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้ง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, หลักอปริหานิยธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เปรียบเทียบปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เสนอแนวการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเลือกตั้ง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 358 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านคุณสมบัติของตัวผู้สมัคร ด้านนโยบาย ด้านสื่อบุคคลที่มีอิทธิพล และด้านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
2. เปรียบเทียบปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนก เพศ อายุ การศึกษา และอาชีพ ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
3. แนวการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเลือกตั้ง คือ 1) ด้านการประชุมกันเนืองนิตย์ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการระดมความคิด 2) ด้านการพร้อมเพรียงกันประชุม เป็นการฝึกวินัยและขันติธรรมให้มีความอดทนและรับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมาย 3) ด้านการไม่บัญญัติหรือไม่ล้มเลิกข้อบัญญัติตามอำเภอใจ 4) ด้านการเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา เพื่อให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ 5) ด้านการให้เกียรติ และคุ้มครองสิทธิสตรี 6) ด้านการส่งเสริม และรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม 7) ด้านการอารักขา คุ้มครอง ปกป้อง อันชอบธรรม มีความปลอดภัยและเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักประชาธิปไตย

References

กรมการปกครอง. (2547). กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเทศบาลและเมืองพัทยา ประจำปี 2542-2543. กรุงเทพฯ: บริษัท เดอะสยาม เฮอริเทจ จำกัด.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซนเตอร์.

ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. (2518). การบริหารการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธมลวรรณ วรรณปลูก. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรี: ศึกษากรณี เทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

บุญเลิศ ช้างใหญ่. (2545). นักข่าวมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: มติชน.

พระมหาณัฏพจน์ ขนฺติธโร. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(1), 281-291.

พระมหาสิทธิพงษ์ สุจิณฺณธมฺโม (อุ่นแสนสุข). (2565). พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชน ในอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 9(2), 53-65.

พระอธิการวรวุฒิ สุเมโธ (มีธรรม). (2563). พฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 ในจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 5. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภาสวรรณ สิทธิกรณ์. (2564). พฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 7. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

แสงโยธา ป., คล้ายเดช ป., & มาเมือง ไ. (2024). ปัจจัยพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีบริหารส่วนตำบลอินทร์แปลง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 11(3), 175–186. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/275493

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)