การสื่อสารทางการเมืองด้วยหลักสาราณียธรรมของนักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ศิริกล้า แก้วสุทอ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ปัญญา คล้ายเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ไพฑูรย์ มาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางการเมือง, หลักสาราณียธรรม, นักการเมืองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นตามความคิดเห็นของประชาชน 2) เปรียบเทียบการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองโดยการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมของนักการเมืองท้องถิ่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์ในการเลือกตั้งในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จำนวน 399 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ตามความคิดเห็นของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อยู่ในระดับมาก คือ ด้านผู้ส่งสาร และระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านสาร ด้านช่องทางการสื่อสาร ด้านผู้รับสาร อยู่ในระดับน้อย คือ ด้านการวางแผน
2. ผลการเปรียบเทียบการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่มีเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพ ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
3. แนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองโดยการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมของนักการเมืองท้องถิ่น ดังนี้ 1) ด้านผู้ส่งสาร ต้องมีความรอบรู้ในการสื่อสารโดยใช้เมตตากายกรรม เมตตามโนกรรม การแสดงออกด้วยการกระทำที่มีเมตตาและสร้างสรรค์ 2) ด้านสาร มีทัศนคติที่ดี ใช้สาธารณโภคิตา เมตตากายกรรม การมุ่งทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ 3) ด้านช่องทางการสื่อสาร นักการเมืองมีเมตตากายกรรม เมตตามโนกรรม ส่งเสริมความสงบสุข ความไว้วางใจ 4) ด้านผู้รับสาร ทัศนคติที่ดีโดยประยุกต์หลักสีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา ทำให้การเมืองที่สะอาดเป็นธรรม มีความปรองดอง และศรัทธาในระบบการเมือง

References

พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทฺธสาวโก (ลักษณ์พลวงค์). (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการสื่อสารทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 15-25.

พระชินกร สุจิตฺโต (ทองดี). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการเมืองสำหรับประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระนุชิต นาคเสโน (โพวิชัย). (2565). การพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาณัฏพจน์ ขนฺติธโร. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(1), 281-292.

พระมหาพิพัฒพงศ์ ฐิตธมฺโม (วงษ์ชาลี). (2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารของนักการเมืองไทย. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสังวาน สายเนตร และคณะ. (2565). การสื่อสารทางการเมือง. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 357-368.

มนัสนันท์ ศิวะพรพัฒนา. (2566). การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วไปของประชาชนในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(1), 74-86.

วัฒนา นนทชิต (2558). การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนวัตกรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 3(1), 35-49.

เสรี วงษ์มณฑา. (2537). การประยุกต์ทฤษฎีในการสื่อสารหลักและทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อิสรพงษ์ ไกรสินธุ์. (2560). พุทธวิธีการสื่อสารทางการเมืองในยุคศตวรรษที 21. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาความหลากหลายทางวัฒนธรรมในอีสานใต้, 20 มีนาคม 2560. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

แก้วสุทอ ศ., คล้ายเดช ป., & มาเมือง ไ. . (2024). การสื่อสารทางการเมืองด้วยหลักสาราณียธรรมของนักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 11(3), 75–86. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/275606

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)