ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความหลากหลายกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานรัฐวิสาหกิจสาขาสาธารณูปการแห่งหนึ่งในประเทศไทย : บทบาทการเป็นตัวแปรสื่อของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ประภัส นุ่มนิยม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • กฤตกร นวกิจไพฑูรย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการความหลากหลาย, การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการบริหารจัดการความหลากหลาย การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความหลากหลายการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงาน และ 3) ศึกษาบทบาทการเป็นตัวแปรสื่อของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การในความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความหลากหลายกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจสาขาสาธารณูปการแห่งหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 407 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และการบริหารจัดการความหลากหลาย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89, .95, .92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้ PROCESS macro Model 4
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการรับรู้ของพนักงานด้านการบริหารจัดการความหลากหลาย (equation = 6.27, S.D. = 0.70) การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ (equation= 6.07, S.D. = 0.70) และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (equation= 6.14, S.D. = 0.54) พบว่า อยู่ในระดับสูงมาก
2. การบริหารจัดการความหลากหลายและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.379 และการบริหารจัดการความหลากหลายมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.658 และ 0.456
3. การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การเป็นตัวแปรสื่อแบบบางส่วนในความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความหลากหลายกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

เกษราภรณ์ กุณรักษ์ และทิพทินนา สมุทรานนท์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมขององค์การ การมอบอำนาจในงานเชิงจิตวิทยาและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของข้าราชการในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง. วารสาร HR intelligence, 2(2), 34-53.

วราพร เจริญสมบูรณ์นิธิ. (2560). อิทธิพลของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ การรับรู้บรรยากาศขององค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยมีคุณภาพชีวิตการทำงานเป็นตัวแปรสื่อ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(1), 158-167.

สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2563). รัฐวิสาหกิจไทยแหล่งรายได้รัฐบาลหรือภาระงบประมาณของแผ่นดิน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. เข้าถึงได้จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_dl_link.php?nid=855

Adams, J. S., & Freedman, S. (1976). Equity theory revisited: Comments and annotated bibliography. Advances in Experimental Social Psychology, 9, 43-90.

Adecco Thailand. (2020). ทำไม Diversity ถึงสำคัญกับองค์กร. เข้าถึงได้จาก https://knowledge-center/detail/hr-insight/why-diversity-is-important-in-the-workplace

Bizri, R. (2018). Diversity management and OCB: The connection evidence from the Lebanese banking sector. Equality, Diversity and Inclusion: An International Journal, 37(3), 233-253.

Blouch, R., & Azeem, M. F. (2019). Effects of perceived diversity on perceived organizational performance: Mediating role of perceived organizational justice. Employee Relations: The International Journal, 41(5), 1079-1097.

Brimhall, K. C., Lizano, E. L., & Barak, M. E. M. (2014). The mediating role of inclusion: A longitudinal study of the effects of leader–member exchange and diversity climate on job satisfaction and intention to leave among child welfare workers. Children and Youth Services Review, 40, 79-88.

Cheng, S. Y. (2014). The mediating role of organizational justice on the relationship between administrative performance appraisal practices and organizational commitment. The International Journal of Human Resource Management, 25(8), 1131-1148.

Choi, S., & Rainey, H. G. (2014). Organizational fairness and diversity management in public organizations: Does fairness matter in managing diversity?. Review of Public Personnel Administration, 34(4), 307-331.

Cropanzano, R., & Greenberg, J. (1997). Progress in organizational justice: Tunneling through the maze. International Review of Industrial and Organizational Psychology, 12, 317-372.

Dixon-Fyle, S., Dolan, K., Hunt, V., & Prince, S. (2020). Diversity wins: How inclusion matters. McKinsey & Company report.

Greenberg, J., & Colquitt, J. A. (2005). Handbook of organizational justice. Psychology Press.

Hayes, A. F. (2017). Introduction to mediation, moderation, and conditional process analysis: A regression-based approach. Guilford Publications.

Kim, S., & Park, S. (2016). Organizational justice as an outcome of diversity management for female employees: Evidence from US federal agencies. Transylvanian Review of Administrative Sciences, 12(49), 41-59.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Mousa, M., Massoud, H. K., & Ayoubi, R. M. (2020). Gender, diversity management perceptions, workplace happiness and organisational citizenship behaviour. Employee Relations: The International Journal, 42(6), 1249-1269.

Novitasari, D., Riani, A. L., Suyono, J., & Harsono, M. (2021). The moderation role of ethical leadership on organisational justice, professional commitment, and organisational citizenship behaviour among academicians. International Journal of Work Organisation and Emotion, 12(4), 303-324.

Organ, D. W., Podsakoff, P. M., & MacKenzie, S. B. (2005). Organizational citizenship behavior: Its nature, antecedents, and consequences. Sage Publications.

Podsakoff, P. M., MacKenzie, S. B., Moorman, R. H., & Fetter, R. (1990). Transformational leader behaviors and their effects on followers' trust in leader, satisfaction, and organizational citizenship behaviors. The Leadership Quarterly, 1(2), 107-142.

Preacher, K. J., Rucker, D. D., & Hayes, A. F. (2007). Addressing moderated mediation hypotheses: Theory, methods, and prescriptions. Multivariate Behavioral Research, 42(1), 185-227.

Singh, A., & Banerji, R. (2022). Happiness at work, organization citizenship behaviour and workplace diversity: a study on Indian private sector bank employees. Industrial and Commercial Training, 54(3), 460-475.

Tajfel, H. (1982). Social identity and intergroup relations. Cambridge University Press.

Tsui, A. S., Egan, T. D., & O'Reilly III, C. A. (1992). Being different: Relational demography and organizational attachment. Administrative Science Quarterly, 37(4), 549-579.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

นุ่มนิยม พ., & นวกิจไพฑูรย์ ก. (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการความหลากหลายกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานรัฐวิสาหกิจสาขาสาธารณูปการแห่งหนึ่งในประเทศไทย : บทบาทการเป็นตัวแปรสื่อของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 11(3), 19–34. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/275950

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)