ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สิริมล กะชิรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • สถาพร วิชัยรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ผู้นำ, ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์, กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ ช่วยให้เข้าใจถึงแนวทางในการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำของผู้นำชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และ 2) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 380 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation= 4.45, S.D. = 0.47) โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ ด้านความคิดริเริ่ม ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ และด้านการตัดสินใจ ตามลำดับ
2. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องกล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และรวดเร็ว ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตรงไปตรงมา มีความเสียสละเพื่อประชาชน รองลงมาคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ควรเป็นคนรุ่นใหม่ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีพื้นฐานความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ควรมีความสามารถในการติดต่อประสานงานและขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น เพื่อให้การสนับสนุนหรือแก้ไขปัญหาในชุมชน

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2562). คู่มือปฏิบัติงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: อาสารักษาดินแดน.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยุเคชั่น

ณหทัย เลิศหล้า. (2561). ทัศนคติของประชาชนต่อคุณลักษณะด้านภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลกุ่มหัก อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เดชา เดชะวัฒนะไพศาล. (2565). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ที่ทำการปกครองอำเภอชำนิ. (2566). สำนักทะเบียนอำเภอชำนิ. บุรีรัมย์: ที่ว่าการอำเภอชำนิ.

_______. (2566). แผนพัฒนาอำเภอ พ.ศ. 2566-2570 ฉบับทบทวน 2566 อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: ที่ว่าการอำเภอชำนิ.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2557). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัล เอ็กเพรส.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์

พนิดา รัษฎาเพชร. (2565). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13, 12 พฤษภาคม 2565 (หน้า 2353-2368). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พัชรา วาณิชวศิน. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำ: จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ไพทูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2560). มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศากวร วิเศษนคร. (2566). ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองยาง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(5), 285-300.

สกุลรัตน์ นุชผักแว่น. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตามความคิดเห็นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อัมรินทร์ พานัด. (2563). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

กะชิรัมย์ ส., วิชัยรัมย์ ส., & พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ ธ. (2024). ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 11(3), 61–74. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/276955

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)