การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างประชาธิปไตยชุมชนในอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
กระบวนการ, การเสริมสร้าง, ประชาธิปไตยชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปรากฏการณ์ประชาธิปไตยชุมชน 2) ศึกษารูปแบบการเสริมสร้างประชาธิปไตยชุมชน และ 3) พัฒนากระบวนการเสริมสร้างประชาธิปไตยชุมชน ในอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน และดำเนินการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ให้้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 รูป/คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ เก็บข้อมูลแล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลในลักษณะการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุมชนมีความต้องการเปลี่ยนแปลงชุมชนให้ดีขึ้นโดยเสนอปัญหาความต้องการ และต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา โดยใช้กิจกรรมประชาธิปไตยชุมชน ในลักษณะประชาธิปไตยชุมชนแบบปรึกษาหารือ และประชาธิปไตยชุมชนแบบการปกครองตนเอง
2. รูปแบบการเสริมสร้างประชาธิปไตยชุมชน มี 3 รูปแบบ คือ 1) การเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบชุมชน 2) การเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ และ 3) การเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบปกครองตนเอง
3. พัฒนากระบวนการเสริมสร้างประชาธิปไตยชุมชน โดยใช้การบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักอปริหานิยธรรม โดยมีองค์ประกอบ 7 ประการ คือ 1) การประชุมปรึกษาหารือ 2) การสร้างพลังชุมชน 3) การปฏิบัติตามวัฒนธรรมชุมชน 4) การรับฟังความคิดเห็นปราชญ์ชุมชน 5) การส่งเสริมบทบาทสตรีชุมชน 6) การสร้างอุดมคติชุมชน และ 7) การจัดสวัสดิการชุมชน
References
กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th.
ณฐมน หมวกฉิม และศิริสุดา แสงทอง. (2567). แนวทางการส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน. วารสารรัชภาคย์, 18(56), 451-463.
บุญทัน ดอกไธสง. (2553). ขอบข่ายรัฐประศาสนศาสตร์ยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: ปัญญาชนการพิมพ์.
ประสาน เจริญศรี. (2567). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคพลเมืองในจังหวัดชลบุรี โดยประยุกต์ตามหลักพุทธธรรม. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 6(1), 49-64.
ไพฑูรย์ ปริญญาธรรมกุล. (2563). การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษของเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 66-77.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 23. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2559). รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการปกครองท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
อภิญญา มุกดาธนพงศ์, สัณฐาน ชยนนท์ และวิจิตรา ศรีสอน. (2564). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 923-939.
Held, D. (2006). Models of Democracy. (3 ed.). Cambridge: Polity Press.
