บทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
กระบวนการเรียนการสอน, บทบาท, พระสอนศีลธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรม จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3) นำเสนอชุดความรู้บทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 32 ท่าน และ กลุ่มเป้าหมายคือพระสอนศีลธรรม จำนวน 300 รูป โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากกลุ่มตัวอย่าง 171 รูป วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดย SWOT Analysis
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดเพชรบูรณ์ ในการจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1) การเลือกใช้กระบวนการเรียนการสอนและสื่อการสอนได้เหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 3.68, S.D. = 0.75) 2) การมีส่วนร่วมในกระบวนการสอน อยู่ในระดับมาก (
= 4.15, S.D. = 0.69) และ 3) การสร้างความเชื่อมั่นโดยคุณลักษณะส่วนตัว อยู่ในระดับมาก (
= 4.08, S.D. = 0.74)
2. ปัญหาที่เกิดจากการเลือกใช้กระบวนการเรียนการสอน คือไม่มีทักษะในการเลือกใช้ ไม่สอดคล้องกับเนื้อหา ไม่เหมาะสมกับผู้เรียนและทักษะผู้สอน การขาดแคลนสื่อการสอน ชั่วโมงการสอนน้อยขาดความต่อเนื่อง ไม่มีเครื่องมือการสอน ปัญหาจากสถานศึกษา ตัวชี้วัดการเรียนการสอนไม่ชัดเจน
3. ชุดความรู้บทบาทพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยองค์ความรู้ 6 ด้าน คือ ความรู้เกี่ยวกับพระสอนศีลธรรม ความรู้ด้านการสอน ความรู้ด้านการแก้ไขปัญหา ความรู้ด้านคุณลักษณะและพฤติกรรมในการสอนที่เหมาะสม ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้และการบูรณาการหลักธรรม และการกำหนดระดับของกระบวนการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับบทบาทพระสอนศีลธรรม
References
จิรทัศน์ เนธิบุตร. (2563). บทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2560). การพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาครู. (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2543). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิเคราะห์และวิจัยข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บรรพต สุวรรณประเสริฐ. (2544). การพัฒนาหลักสูตรโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เชียงใหม่: แสงศิลป์.
พระท้าย ฐิติมโน (จั่งยัง). (2565). ความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระดับมัธยมศึกษาอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาไพศาล นนฺทเมธี (พันธ์สวัสดิ์). (2565). บทบาทของพระสอนศีลธรรมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
รุ่ง แก้วแดง. (2541). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
วิชุดา มาลาสาย. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสว่างแดนดิน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการในโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สพฐ.
ศูนย์พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเพชรบูรณ์. (2566). สถิติข้อมูลพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2566. เอกสารประกอบการอบรมพระสอนศีลธรรม ปีงบประมาณ 2566. เพชรบูรณ์: ศูนย์พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเพชรบูรณ์.
สมทรง ปุญญฤทธิ์. (2542). เทคนิคการสอนศีลธรรมในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ประสารมิตรจำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุชา จันทร์เอม. (2524). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
