พลวัตโลกยุคบานี่กับบทบาทภาวะผู้นำสตรีในบริบทสถานศึกษา : ข้อสะท้อนการบูรณาการกลยุทธ์บนฐานพุทธธรรม
คำสำคัญ:
โลกยุคบานี่, บทบาท, ภาวะผู้นำสตรี, พุทธธรรมบทคัดย่อ
โลกยุคโกลาหลเป็นกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ยากจะคาดคะเนในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตและการบริหารองค์กรเป็นอย่างยิ่ง บทความนี้มุ่งนำเสนอการพัฒนาภาวะผู้นำสตรีในบริบทสถานศึกษาโดยเฉพาะในยุค BANI ที่มีความเปราะบาง วิตกกังวล ไม่เป็นเชิงเส้น และไม่เข้าใจ การศึกษาและการจัดการเรียนรู้ต้องเผชิญกับความท้าทายที่เกิดจากความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การศึกษาได้สะท้อนให้เห็นว่า กลยุทธ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำสตรีจำเป็นต้องมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยการบูรณาการหลักการของพุทธธรรมเข้ามาเป็นฐานในการพัฒนาจะช่วยเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้กับผู้นำสตรี การประยุกต์ใช้และบูรณาการหลักพุทธธรรม 4 ด้าน ได้แก่ อริยสัจ 4, วุฒิธรรม 4, กัลยาณมิตร 7 และภาวนา 4 เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาในมิติทางจิตวิญญาณและจริยธรรมนี้จะช่วยสร้างแนวทางในการพัฒนาผู้นำสตรีที่มีจริยธรรมและคุณค่าทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้รวมถึงการเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาภาวะผู้นำสตรี การสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรในสถานศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสนับสนุนซึ่งกันและกันการใช้เทคนิคการภาวนาเพื่อเสริมสร้างสติและการตัดสินใจที่มีจริยธรรมซึ่งจะช่วยพัฒนา ความเป็นผู้นำที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษา นักการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาภาวะผู้นำสตรี เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีความเท่าเทียมและยั่งยืน
References
กัญชพร ปานเพ็ชร. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักวุฒิธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในยุค 4.0. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 491-498.
กุลชลี จงเจริญ. (2562). การพัฒนาชุดฝึกอบรมผ่านเว็บเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านศักยภาพภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 18-36.
ธีรวัฒน์ บงแก้ว. (2565). แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 7(2), 140-150.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
นรชัย ณ วิเชียร และคณะ. (2562). อริยสัจ 4 กับการพัฒนางองค์กร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(1), 165-174.
นวลนภา จุลสิทธิ และคณะ. (2567). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กรภาครัฐภายใต้ยุค VUCA. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 310-328.
ประเวศ วะสี. (2564). พุทธวิธีสร้างสุขสร้างสุขภาวะสำหรับคนทั้งมวล. เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/article/isranews-article/103131-isra-52.html
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2565). พระพุทธศาสนากับสถาบันพระมหากษัตริย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พีระ อุดมกิจสกุล. (2565). การประยุกต์หลักภาวนา 4 เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของบริษัทไปรษณีย์ไทย ดิสทริบิวชั่น จำกัด. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(2), 58-66.
มติชนออนไลน์. (2567). TMA 60 ปี ดึงผู้นำองค์กรชั้นนำร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์สู่อนาคตยั่งยืน ซีพี ชี้ ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/publicize/news_4800722
มัชฌิมา วงษ์จันทร์เพ็ง. (2564). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในยุคดิจิทัล. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 21(2), 41-50.
รตสิรี นาทอง และคณะ. (2559). ศึกษาวิเคราะห์บทบาทองค์กรสตรีด้านการแก้ปัญหาสตรีในสังคมไทยปัจจุบันด้วยหลักพุทธธรรม. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 16(2), 133-147.
ริญญารัตน์ วรจินตนาลักษณ์ และคณะ. (2563). การศึกษาสุขภาวะยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามหลักภาวนา 4 ของนิสิตมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(4), 39-53.
สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 53). กรุงเทพฯ: ทบทัน.
สรกล อดุลยานนท์. (2567). คำถามของ “ผู้นำ”. เข้าถึงได้จาก https://www.prachachat.net/opinion-column-2/news-1657607
อนิรุทธิ์ ตุลสุข. (2565). จาก VUCA world สู่ BANI WORLD. เข้าถึงได้จาก https://www.coachforgoal.com/
อภิชญา พรรณศรี และคณะ. (2567). บทบาทสตรี: ภาวะผู้นำร่วมสมัย. วารสารเสฏฐวิทยปริทัศน์, 4(1), 1-12.
อาชวัน อัศวนิก และปาณิสรา เบี้ยมุกดา. (2563). แนวทางแก้ปัญหาในองค์กร SME ในสังคมไทยตามแนวอริยสัจ 4. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 106-123.
Davies, M. & Bui sine, S. (2018). Innovation Culture in Organizations. Science, Technology and Innovation Culture, 3, 6-11.
Edmunds, M. (2007). The female superintendency: Reframing our standing of women’s leadership styles and behaviors. Dissertation in Doctor of Education, Seton Hall University.
Jamais Cascio. (2022). A framework for understanding a turbulent world. Retrieved from https://ageofBANI.com/.
Kotter J. P. (1995). Leading change: Why transformation efforts fail. Harvard Business.
Wickham, M. D. (2007). Female superintendents: Perceived barriers and successful. strategies used to attain the per intendency in Los Angelis. Dissertation in Doctor of Education University of the Pacific.
