การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนในสถาบันการศึกษาปอเนาะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ, สถาบันการศึกษาปอเนาะ, จังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถาบันการศึกษาปอเนาะ 2) การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน และ 4) การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 406 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโดยใช้จังหวัดที่ตั้งเป็นเกณฑ์แล้วสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 และ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถาบันการศึกษาปอเนาะ พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.11) โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความผูกพันต่อองค์กร การให้ความไว้วางใจ การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การกระจายอำนาจและการตัดสินใจร่วมกัน การเป็นอิสระในงานที่รับผิดชอบ และการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน
2. การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = 0.08) โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ การเสริมสร้างทักษะอาชีพผ่านการจัดหลักสูตรระยะสั้น การเสริมสร้างทักษะอาชีพโดยการจัดฐานการเรียนรู้ และการเสริมสร้างทักษะอาชีพในรูปแบบโครงงานอาชีพ
3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r = 832) กับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน
4. การบริหารแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถทำนายการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน ได้ร้อยละ 73.30
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แนวทางการเสริมทักษะและสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพให้กับนักเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
ชัยอานนท์ แก้วเงิน. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2564). หน่วยที่ 6 การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 6-10. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สายเพ็ญ บุญทองแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุริยา หะยีเหย็บ. (2564). สภาพปัญหา ความคาดหวังและแนวทางการพัฒนาการศึกษาสถาบันศึกษาปอเนาะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดสตูล. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 11(22), 219-233.
อภิชพัฒ เพชรพรรณ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
อมรภัค ปิ่นกำลัง. (2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Elliont, D. C. (1994). Collaborative decentralized management and perceptions of quality schooling outcome. Dissertation Abstracts International, 52(10), 23-25.
Jansen, A. N. B. (2013). Life skills that enable resilience: a profile of adolescents from a coloured community in Kimberley. Retrieved from http://hdl.handle.net/11660/1844
Kim, Y., & Lee, H. (2023). Investigating the effects of career education programs on high school students’ career development competencies in Korea. Sustainability, 15(18), 13970.
Wang, P., et al. (2023). The development of career planning scale for junior high school students based on cognitive information processing theory Frontiers in Psychology. Retrieved from https://doi.org/10.3389/fpsyg.2023.1106624
