การศึกษาภูมิปัญญาวัฒนธรรมการปลูกข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ กรณีศึกษาบ้านบนเขาแก่งเรียง ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • อรพรรณ ศรีทอง
  • เฉลิมพล ศรีทอง

คำสำคัญ:

ข้าว/ วัฒนธรรม/ ขมุ/ ประเพณี

บทคัดย่อ

การศึกษาภูมิปัญญาวัฒนธรรมการปลูกข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ กรณีศึกษาบ้านบนเขาแก่งเรียง ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการปลูกข้าวของชาวขมุ บ้านบนเขาแก่งเรียง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และเพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์ สืบทอดประเพณีการปลูกข้าวของชาวขมุ บ้านบนเขาแก่งเรียง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี งานวิจัยดังกล่าวเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research) ผู้วิจัยได้ทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งเป็นการซักถามเจาะลึกรายบุคคล รวมทั้งได้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) เพื่อให้ได้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 14 คน ซึ่งเป็นชาวขมุที่ปลูกข้าวไร่ ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน นักวิชาการ และปราชญ์ชุมชนชาวขมุ ซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านบนเขาแก่งเรียง ที่สามารถบอกเล่าถึงประเพณีการปลูกข้าวและรูปแบบพิธีกรรม ความเชื่อของชาวขมุที่ถือว่าเป็นประเพณีที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิตของชาวขมุเป็นอย่างดี ซึ่งผู้วิจัยพิจารณาข้อมูลที่ได้จากชาวบ้านในพื้นที่ที่ศึกษาสามารถให้ข้อมูลที่ต้องการศึกษาได้ รวมทั้งใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลจากการสังเกต การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ร่วมในงานวิจัยดังกล่าว

ผลการวิจัยพบว่า การปลูกข้าวของชาวขมุที่บ้านบนเขาแก่งเรียง จะเริ่มปลูกข้าวภายหลังพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยยึดการพยากรณ์ของพระโคที่ได้พยากรณ์ไว้เป็นหลักในการปลูกข้าวในแต่ละปี ซึ่งในปี 2562 ผลการเสี่ยงทายปรากฏว่า “พระโคได้กินข้าวพยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหารจะบริบูรณ์ดี พระโคกินน้ำและหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี และในการเสี่ยงทายผ้านุ่งเสี่ยงทาย พระยาแรกนาหยิบเสี่ยงทายได้ผ้าห้าคืบ พยากรณ์ว่า น้ำสำหรับปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี” สำหรับระยะเวลาในการปลูกข้าวจนถึงเกี่ยวข้าวจะใช้เวลาประมาณ 5 - 6 เดือน หรือที่ชาวขมุบอกว่า “ปลูกวันแม่ เก็บวันพ่อ” ในปีนี้ชาวขมุได้กำหนดเริ่มการหยอดข้าวในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม 2562 และเริ่มเกี่ยวข้าวในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม 2562 สำหรับขั้นตอนการปลูกข้าวของชาวขมุจะดำเนินการ 4 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย 1) หยอดข้าวไร่ (จะมอนเฮ๊อะ) 2) รับท้องข้าว   3) ฟาดข้าว (ปุ๊เงาะ) และ 4) การเปิดยุ้งข้าว (เปิดจะโอ๊ะ) การปลูกข้าวของชาวขมุที่บ้านบนเขาแก่งเรียง ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ปลูกข้าวเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนเท่านั้น ปัจจุบันการปลูกข้าวของชาวขมุที่บ้านบนเขาแก่งเรียงมีครัวเรือนที่ปลูกข้าวน้อยลงเนื่องจากไม่มีผู้สืบทอดและมีแนวคิดในการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้มีการลดขั้นตอนและประเพณีบางอย่างลง สำหรับแนวทางการอนุรักษ์สืบทอดประเพณีการปลูกข้าวของชาวขมุ บ้านบนเขาแก่งเรียง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี จากการลงพื้นที่พบว่า โรงเรียนบ้านบนเขาแก่งเรียงมีแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีการปลูกข้าวของชาวขมุไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงวิธีการปลูกข้าวของชาวขมุ เพื่อให้ได้รับความรู้ความเข้าใจและมองเห็นถึงความสำคัญของการปลูกข้าวมากขึ้น รวมทั้งมีการเผยแพร่ความรู้การปลูกข้าวและดำเนินชีวิตของชาวขมุให้แก่เยาวชนที่เข้ามาเรียนรู้ในหมู่บ้าน โดยมีคุณปราณี บุญทอง ประธานชมรมบ้านบนเขาแก่งเรียง เป็นผู้ดูแลและถ่ายทอดความรู้แก่เยาวชนผู้สนใจ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Apichart Pattaratuma, A. (2011). Khamu. Journal of Forest Management 5(9): 73-78

Department of Social Development and Welfare. (2012). Khmu hill tribe. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security.

Department of Social Development and Welfare. (2012). The cycle of Khmu people. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security.

General condition information. (2019). Retrieved October 22, 2019, from: http://thakadan.go.th/

public/texteditor/data/index/menu/ 498.

Hilltribe Development and Welfare Center in Mae Hong Son Province. (2002). KHAMU. Mae Hong Son.

Kongthavthong, M. (1995). Kanchanaburi Study Thai people of Karen descent in Kanchanaburi. Kanchanaburi: Art and Culture Center Kanchanaburi Rajabhat Institute.

Laphwạthn, S. (2003). Mon people on the Central Basin. Bangkok: Wạn chna.

Liamtrakoolpanich, A. (2007). Ethnobotany: Edible Plants for Khamu Amphoe Srisawat, Changwat Kanchanaburi. Office of Conservation Area 3 (Ban Pong) National Park Department Wildlife and plant species.

Loaunca, P., Panitkul, B. (2017). Rice Culture: Inheritance of Local Wisdom in Beliefs and Ritesof Southern Isan Communities. Journal of MCU Peace Studies Special Issue (292-303).

Prakob Meekotkong, P. (2015). Rice Culture Changing of Farmers in Northeast of Thailand. Research Project Funded by Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Premsrirat, S. (1990). Prevention and treatment of primary disease, Khmu people and public health conversation Thai - Khmu medicine. Bangkok: Institute for Language and Culture for Rural Development. Mahidol University.

Premsrirat, S. (1998). Encyclopedia of Khmu ethnic groups. Bangkok: sahadhammika.

Premsrirat, S. (2004, January - June). The diversity in language and ethnicity: an unsolved problem or a valuable resource. Journal of Language and Culture, Year 23, Issue 1.

Premsrirat, S. (2020). Ethnolinguistic Maps of Thailand. Bangkok: Office of the National Culture Commission.

Sapphasuk, W. (2016). "Kayan, Suesad, Aodton" Khmer Identity Contention for Creating Social Space of Khmer Students in Thailand - Laos Border School. Doctor of Philosophy Thesis Department of Education Major in Multicultural Education. Chiang Mai University.

Siriphan, N. (2011). Color terms and attitude toward color of Thai, Pwo Karen, Mon and Khmu in amphoe Si Sawat Kanchanaburi province. Color terms and attitude toward color of Thai, Pwo Karen, Mon and Khmu in amphoe Si Sawat Kanchanaburi province.

Subsamg, N. (1996). Khmu society and culture and development. Chiang Mai: Tribal Research Institute.

Subsamg, N. (1996). The migration of Khmu hill tribe workers Situation and impact on the community. Chiang Mai: Tribal Research Institute.

Sujachaya, S. (2001). Rice in Thai folklore – Thai. Document number 1 of the Thai Rice Foundation.

Sutthinon, S. (2018). Rice Culture: The Production and Consumption Process According to Buddhism.Doctor of Philosophy Program in Buddhist Studies Graduate School Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01