แนวโน้มการเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองในประเทศญี่ปุ่นของประชากรกลุ่ม Millennial
คำสำคัญ:
การเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง/ แรงจูงใจ/ ทัศนคติ/ พฤติกรรมบทคัดย่อ
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองในประเทศญี่ปุ่นของคนรุ่นใหม่คือกลุ่ม Millennial โดยการศึกษาแรงจูงใจ ทัศนคติ พฤติกรรม และปัจจัยในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของประชากรไทยกลุ่ม Millennial ผ่านแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจในการท่องเที่ยว แนวคิดทัศนคติในการเดินทางท่องเที่ยว แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว และแนวคิดพฤติกรรมในการเดินทางท่องเที่ยวโดยแนวโน้มในการเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองในประเทศญี่ปุ่นของประชากรกลุ่ม Millennial แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมในการท่องเที่ยวที่เกิดจากความเชื่อมโยงของสาเหตุทั้งแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้บุคคลต้องการออกเดินทาง ร่วมกับทัศนคติที่มาจากการรับรู้และประสบการณ์ที่มีต่อสถานที่ต่าง ๆ นั้น ที่สัมพันธ์กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจออกเดินทาง นำไปสู่พฤติกรรมในการเดินทางท่องเที่ยว ประกอบกับความหลากหลายมิติของประเทศญี่ปุ่นสามารถตอบโจทย์นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่ม Millennial ที่มีรูปแบบการดำเนินชีวิต (lifestyle) เป็นปัจเจกชนมีความแตกต่างหลากหลาย จึงนิยมวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง ดังนั้นพฤติกรรมในการท่องเที่ยวของคนกลุ่มนี้จึงสะท้อนความเป็นตัวตนของแต่ละคน
Downloads
References
ขวัญเรือน พุ่มจำเนียร. (2554). ปัจจัยที่มีผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศด้วยตนเอง. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชญานิน วังซ้าย. (27 พฤศจิกายน 2562). Keep Calm and Understand Gen Y. สืบค้นจาก http://www.etatjournal.com/web/menu-read-tat/menu-2016/menu-42016/751-42016-gen-y
ธรา สุขคีรี. (2559). แรงจูงใจและทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อคุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อมและการจัดการการท่องเที่ยว ในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ธัญชนก แววแก้ว. (2557). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไประเทศเกาหลีหรือญี่ปุ่น. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เลิศพร ภาระสกุล. (2556). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรัญญา วิไลรัศมี. (2562). แรงจูงใจที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นด้วยตนเอง. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรัญญา วิไลรัศมี. (2562). แรงจูงใจที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นด้วย
วิภา วัฒนพงศ์ชาติ. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วีระพล สุทธิพร, และเฉลียว แก่นจันทร์. (2538). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์กรชุมชนโครงการวนศาสตร์ชุมชนบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้.
ศราวรรณ ไชยสุทธิเมธีกุล. (2557). การศึกษากระบวนการตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศด้วยตนเอง (FIT: Free Independent Traveler) ของคนไทย. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว. (22 สิงหาคม 2562). สถิติและรายจ่ายของนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไป ท่องเที่ยวต่างประเทศด้วยตนเองในช่วงปี 2561. สืบค้นจาก
https://intelligencecenter.tat.or.th/articles/7987
สุวภาพ ประภาสวัสดิ์. (2554). ทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวแบบวันเดียว ณหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี ของประชากรเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุวัฒน์ จุธากรณ์, และจริญญา เจริญสุกใส. (2552). แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
หทัยรัตน์ ทับเคลียว. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวประเทศสิงคโปร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). หลักสูตรบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Chyutopia. (26 ธันวาคม 2556). รู้จักกับประชากรรุ่นใหม่กลุ่ม Millennials ที่มีเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่ 5. สืบค้นจาก https://thumbsup.in.th/2013/12/rise-of-millennials/
Tourism Industry DPU. (17 มิถุนายน 2553). ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว. สืบค้นจาก http://tourismindustrydpu002acare.blogspot.com/2010/06/lectur.ht
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว