การเสริมสร้างสมรรถนะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ดวงเดือน อินทร์บำรุง
  • ทยาตา รัตนภิญโญวานิช

คำสำคัญ:

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ; การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมายของบทความนี้ เป็นการนำเสนอแนวทางการสอนที่เน้นการเสริมสร้างสมรรถนะการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล ในสภาพสังคมปัจจุบัน การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนนั้น การเลือกใช้ข้อมูลที่มีเหตุผลและถูกต้องแม่นยำนำไปสู่การตัดสินใจทางเลือกที่ดีที่สุดในการให้การรักษาและการดูแลสุขภาพ พยาบาลเป็นอีกบุคลากรหนึ่งที่สำคัญในทีมสุขภาพ พยาบาลทำงานอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความคิดเพื่อการแก้ปัญหาและดูแลผู้ป่วยโดยการเลือกใช้ข้อมูลเพื่อระบุปัญหา ประเมินทางเลือก ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดและปฏิบัติตามทางเลือก ซึ่งการตัดสินใจแก้ปัญหาทางการพยาบาลจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐาน มีความถูกต้องครอบคลุมและชัดเจนและทำให้ไม่เกิดอันตรายต่อผู้รับบริการ คุณภาพของการตัดสินใจของพยาบาลจึงเป็นผลโดยตรงต่อคุณภาพของการพยาบาล พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กำหนดสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งให้มีความคิดสร้างสรรค์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ พยาบาลที่สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ จะสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาทางการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การคิดอย่างมีวิจารณญาณยังครอบคลุมถึงการไตร่ตรองความถูกต้องเหมาะสมตามหลักจริยธรรม จรรยาบรรณวิขาชีพอีกด้วย การผลิตบัณฑิตพยาบาล หากนักศึกษาได้รับการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์จะยิ่งส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้นและสามารถปฏิบัติงานในทีมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

Alfaro-Lefevre, R. (2009). Critical thinking and clinical judgment: A practical approach to outcome-focused thinking (4th ed.). St. Louis: Saunders Elsevier.

Brookfield, S.D. (2012). Teaching for critical thinking: Tools and techniques to help students question their assumptions. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Chabeli, M.M. (2007). Facilitating critical thinking within the nursing process framework: A literature review. Health SA Gesondheid, 12(4),69-89.

Chan, Z.C. (2013). A systematic review of critical thinking in nursing education. Nurse Education Today, 33, 236-240.

DeSimone, B. B. (2006). Curriculum design to promote the critical thinking of accelerated bachelor’s degree nursing students. Nursing Educator, 31(5),213-217.

Feng, R., Chen, M., Chen, M, Pai, Y. (2010). Critical thinking competence and disposition of clinical nurses in a medical center. Journal of Nursing Research, 18(2), 77-87.

Kahlke,R. & White,J. (2013). Critical thinking in health sciences education: Considering “three waves.” Creative Education, 4(12A), 21-29.

Kintgen-Andrews, J. (1991). Critical thinking and nursing education: Perplexities and insights. Journal of Nursing Education, 30, 152-157.

Martin, C. (2002). The theory of critical thinking in nursing. Nursing Education Perspectives, 23(5), 243-247.

Papathanasiou, I.V., Kleisiaris, C. F., Fradelos, E. C., Kakou, K., & Kourkouta, L. (2014). Critical Thinking: The Development of an Essential Skill for Nursing Students. ActaInformatica Medica, 22(4), 283–286.

Raymond-Seniuk, C. & Profetto-McGrath, J. (2014). Chapter 17-Ways of thinking: Critical thinking in nursing. In d. Gregory, C. Raymond-Seniuk, & L. Patrick (Eds). Fundamentals: Perspectives on the art and science of Canadian nursing. Philadelphia, PA: LWW Wolters Kluwer Health.

Riddell, T. (2007). Critical assumptions: Thinking critically about critical thinking. The Journal of Nursing Education, 46(3), 121-126.

Simpson, E., & Courtney, M. (2002). Critical thinking in nursing education: Literature review. International Journal of Nursing Practice, 8(2), 89-98.

Walthew, P.J. (2004). Conceptions of critical thinking held by nurse educators. Journal of Nursing Education, 43(9), 408-411.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01