การพัฒนาทักษะการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • ภานุวัฒน์ สายสินธุ์
  • วรรณธิดา ยลวิลาศ
  • วรรณพล พิมพะสาลี

คำสำคัญ:

ทักษะการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง; เทคนิค Math League

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มและต้องมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์มากกว่า ร้อยละ 70 ขึ้นไปของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนเที่ยง ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 13  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League จำนวน 9 แผน และแบบทดสอบวัดทักษะการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ทักษะการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.46 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ เท่ากับร้อยละ 84.62 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
  2. 2. ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 มีความพึงพอใจในจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง.

ทัศนา ชาวปากน้ำ. (2555). การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเทคนิคกลุ่มแข่งขัน ( TGT) ร่วมกับเทคนิค KWL-PLUS. วิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 104.

ธนัดดา คงมีทรัพย์. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (เทคนิค TGT) กับแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนบ้านโนนเที่ยง. (2561). คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน

(o-net). เข้าถึงได้จาก https://data.bopp-obec.info วันที่สืบค้น 16 มิถุนายน2562

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2546). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนโดยเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

วิไลวรรณ อิสลาม, จุติพร อัศวโสวรรณ, และ มนิต พลหลา. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 12(1), 44-49.

วิสุทธิ์ คงกัลป์. (2558). MATH LEAGUE เทคนิคการสอนรูปแบบใหม่ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันการทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. เข้าถึงได้จาก http//www.niets.or.th วันที่สืบค้น 17 มิถุนายน 2562

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(องค์กรมหาชน). (2560). รายงานผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมธยมศึกษาปีที่ 3. เข้าถึงได้จาก http//www.niets.or.th วันที่สืบค้น 17 มิถุนายน 2562

สุนทรี ถาดครบุรี. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ภาษาจรรโลงใจ และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน,คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01