การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวทางวิธีการทำงานแบบสกรัมผ่านระบบจัดการชั้นเรียนออนไลน์ ClassStart เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการเรียนและการทำงานเป็นทีม ของนักศึกษาสาขาวิชาแอนิเมชั่นและดิจิทัลมีเดีย

ผู้แต่ง

  • กัมปนาท คูศิริรัตน์
  • นุชรัตน์ นุชประยูร

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงรุก; แนวทางวิธีการทำงานแบบสกรัม; ประสิทธิผลการเรียน; การทำงานเป็นทีม; ชั้นเรียนออนไลน์ ClassStart

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรม ประเมินประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ประเมินการทำงานเป็นทีม และประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวทางวิธีการทำงานแบบสกรัมผ่านระบบจัดการชั้นเรียนออนไลน์ ClassStart  เพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการเรียนและการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาสาขาวิชาแอนิเมชั่นและดิจิทัลมีเดีย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาแอนิเมชั่นและดิจิทัลมีเดีย จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ ระบบจัดการชั้นเรียนออนไลน์ ClassStart แบบประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินประสิทธิผลการเรียนรู้ แบบประเมินการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา แบบสังเกตการทำงานเป็นทีม และแบบประเมินความคิดเห็นของนักศึกษา  สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 

          ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ ฯ ประกอบด้วย การกำหนดาภารกิจที่ต้องทำตามความต้องการของทีม การส่งมอบงานที่ต้องสำเร็จในแต่ละรอบ สมาชิกในทีมต้องรายงานผลความคืบหน้า และสมาชิกในทีมจะต้องมีการประชุมผ่านระบบจัดการชั้นเรียน ClassStart  ผลการหาประสิทธิภาพของจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ ประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสม อยู่ในระดับ มาก ( = 4.19, S.D.= 0.67)  และผลประเมินคุณภาพจากกลุ่มทดลองมีค่าประสิทธิภาพ 80.41/80.63 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80  ผลประเมินประสิทธิผลการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.667  แสดงว่านักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7  ผลการประเมินการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนอยู่ในระดับ มาก ( = 3.86, S.D.= 0.75)  ผลการสังเกตการทำงานเป็นทีมของอาจารย์ผู้สอน อยู่ในระดับ มาก ( = 3.95, S.D.= 0.54) และผลความคิดเห็นของนักศึกษาในภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก ( = 4.15, S.D.= 0.70)  แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้มีความเหมาะสมนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกวรรณ เรืองแสน และลาวัณย์ ดุลยชาติ. (2559). การพัฒนาผลการเรียนรู้แบบ MIAP ด้วยโปรแกรม ClassStart เรื่องการออกแบบ Template Power Point ด้วยโปรแกรม Photoshop CS5. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 2(1): 18-28

กัมปนาท คูศิริรัตน์ และนุชรัตน์ นุชประยูร. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ รายวิชาการตัดวีดิทัศน์และเสียงเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 7, หน้า 676-688.

เกรียงไกร เที่ยงพร้อม. (2557). ปัญหา/อุปสรรคของการทำงานเป็นทีม. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://oknation.nationtv.tv/blog/uptraining/2014/11/04/entry-1.

จุฑามาศ เพิ่มพูนเจริญยศ. (2561). การพัฒนาจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลไทรโยค. สารนิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ตันติกร คมคาย ทรงศักดิ์ สองสนิท และพงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์สนับสนุนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 5(2), 30-39

พรพิมล จันตรา พิชญาภา ยวงสร้อย และดิเรก ธีระภูธร. (2560). การเรียนการสอนผ่านเว็บโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(1), 109-117.

เพ็ญประภา บุตรละ โอฬาร โรจนพรพันธุ์ และพรชัย มงคลนาม.(2558). ทักษะที่จำเป็นสำหรับสมาชิกทีมพัฒนาในสกรัม. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ. 11(2), 404-411.

มินตรา รื่นสุข บุรัสกร อยู่สุข และปองพล นิลพฤกษ์. (2558). การประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile และการบริการโครงการแบบ Scrum สำหรับโครงการพิเศษระยะสั้น กรณีศึกษานักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาตรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ “การพัฒนางานวิจัยบนฐานแนวคิดใหม่ เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเชียน”. ครั้งที่ 4, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สาลินี เกลี้ยงเกลา. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ผ่านสื่อไอซีทีเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีมสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). การรับรู้และความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก. มหาวิทยาลัยบูรพา:ชลบุรี.

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ศันสนีย์ เลี้ยงพานิชย์.(2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพีงพอใจจากการใช้เว็บเครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์. วารสารวิจัย มข.17(1): 142-152.

อรุณรัตน์ ศรีชูศิลป์. (2554). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต คณะ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ. มหาวิทยาศิลปากร, นครปฐม.

Senge, P.M. (2006). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. Doubleday, New York.

Tuckman, B. (1965). Developmental sequence in small groups. Psychological Bulletin 63(6): 384-399.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01