การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความลึกของความรู้ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ทศทัศน์ บุญตา
  • สุวรรณา จุ้ยทอง
  • อรสา จรูญธรรม

คำสำคัญ:

ระดับความลึกของความรู้ทางคณิตศาสตร์; นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความลึกของความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบร่วมกับการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้และประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ผลการศึกษา พบว่า ระดับความลึกของความรู้ทางคณิตศาสตร์ออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 ระลึกได้ (Recall) ระดับที่ 2 ทักษะ/ความคิดรวบยอด (Skill/Concept) ระดับที่ 3 การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) และระดับที่ 4 การคิดเชิงขยายความคิด (Extended Thinking) ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความลึกของความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 1) เจตคติต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์ 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในความรู้ทางคณิตศาสตร์ 3) ความยึดมั่นผูกพันต่อการคิดคำนวณ และ 4) ปัจจัยเกื้อหนุน ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และพฤติกรรมการสอนของครู

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชลธิชา ใจพนัส และคณะ. (2556). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6(3), 286-304.

ทศทัศน์ บุญตา. (2560). ผลของการใช้โปรแกรมเพื่อนช่วยเพื่อนควบคู่กับความมุ่งมั่นในการเรียนเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีผลการเรียนต่ำ. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. 7(1), 14-28.

ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์. (2556). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธิติมา อุดมพรมนตรี. (2555). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดลพบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มณิภา เรืองสินชัยวานิช. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 1(1), 162-169.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ลำเพา สุภะ และมนัส ไพฑูรย์เจริญลาภ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง. 22(2), 1-13.

วนิดา นามโคตร. (2559, มกราคม 4). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย. วารสารออนไลน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/

สมควร จำเริญพัฒน์ และคณะ. (2552). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 3(3), 69-77.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุเพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังคนรองรับโลกศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำรวย หาญห้าว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18(1), 142-158.

สุดใจ พละศักดิ์. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

Allport, G. W. (1935). Attitudes. In A Handbook of Social Psychology (p.798–844). Clark University Press.

Charman, M. J. (2014). Factors influencing mathematics achievement of secondary school students in India. A Thesis of The Degree of Doctor of Philosophy. University of Tasmania.

Chinaedum L. (2016). Factors Affecting Students’ Interest in Mathematics in Secondary Schools in Enugu State. International Journal of Education and Evaluation. 2(1), 22-28.

Hess K. K. & Petit M. (2014). Applying Webb’s Depth of Knowledge and NAEP Levels of Complexity in Mathematics. National Center for Assessment, Dover, NH. The Leadership and Learning Center.

Hess K. K., Jones B. S., Carlock D. & Walkup J. R. (2009). Cognitive rigor: Blending the strengths of Bloom's taxonomy and Webb's depth of knowledge to enhance classroom-level processes. New Hampshire: National Center for Assessment.

Katz, D. (1960). The functional approach to the study of attitudes. Public Opinion Quarterly, 24(2), 163-204.

Kilman T. A. (2015). The Relationship Between Students’ Applied Mathematics Skills and Students’ Attitudes Towards Mathematics. Dissertations. 54.

Lawrence, F. (1976). Student Perception of the Classroom Learning Environment in Biology, Chemistry and Physics. Journal of Research in Science Teaching. 13, pp.315-323.

Lay, F. Y. & Davadas, S. D. (2018). Factors Affecting Students’ Attitude toward Mathematics: A Structural Education Modelling Approach. EURASIA Journal of Mathematics, Science and Technology Education. 14(1), 517-529.

McClelland, D. C. (1961). The Achieving Society. New York: D. Van Nostrand.

Member of the All Numeracy Team. (2003). Adult numeracy and its assessment in the All survey: A conceptual framework and pilot results. Adult Literacy and life skills survey. Canada: Yvan Clermont.

Norman, L. W. (2002). An analysis of the alignment between mathematics standards and assessment for three States in the American educational research association annual meeting. Wisconsin center for education research, USA: university of Wisconsin-Madison.

OECD (2018). PISA 2021 Mathematics Framework (Second Draft). Paris: OECD.

Silao, I. V. (2018). Factors Affecting the Mathematics Problem Solving Skills of Filipino Pupils: A Study Conducted in Kiamba Central School SPED Center, Kiamba, Sarangani. International Journal of Scientific and Research Publications, 8(2), 487-497.

Sizemore J. M. (2015). Intentional depth of knowledge and its effects on K-12 student engagement. Doctor dissertation. Bellarmine University.

Thurstone, L. L. (1931). The measurement of social attitudes. The Journal of Abnormal and Social Psychology, 26(3), 249-269.

Warren, E., Young, J. & deVries, E. (2008). The impact of early numeracy engagement on four years old Indigenous students. Australian journal of early childhood. 33(4), pp. 2-8.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01