การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ในเส้นทางจาริกแสวงบุญรอยพระพุทธบาทของจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • รัชชนก สวนสีดา
  • บุญญเลขา มากบุญ
  • กานต์ เชื้อวงศ์

คำสำคัญ:

การสื่อสาร; การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม; รอยพระพุทธบาท

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน และปัญหากระบวนการสื่อสาร 2) รูปแบบการสื่อสารและเครือข่ายการสื่อสาร และ 3) แนวทางการพัฒนากระบวนการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในเส้นทางจาริกแสวงบุญรอยพระพุทธบาทของจังหวัดสระบุรี โดยชุมชนและภาคีต่างเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน พื้นที่วิจัยอยู่ที่เส้นทางจาริกแสวงบุญรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมการวิจัยผ่านการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 34 ราย ประกอบด้วยภาคีทางตรงและภาคีทางอ้อม การรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือการวิจัยใช้การวิจัยเอกสาร การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และจัดเวทีประชาคม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลสรุปอุปนัยและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน และปัญหากระบวนการสื่อสาร (SMCR) ในเส้นทางจาริกแสวงบุญรอยพระพุทธบาท มีปราชญ์ชุมชน และแกนนำชุมชน ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารหลัก (S)  ถ่ายทอดเนื้อหาสาร (M) ประเภทความคิดเห็นที่สะท้อนศาสนา ความคิด ความเชื่อ และขนบธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับรอยพระพุทธบาทเป็นส่วนใหญ่  มุ่งเน้นใช้สื่อบุคคล (C) ด้วยวิธีบอกต่อปากต่อปากเป็นช่องทางหลัก ไปยังผู้รับสาร (R) ซึ่งเป็นสมาชิกในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน และมีปัญหาทุกองค์ประกอบในกระบวนการสื่อสารภายในชุมชน 2) รูปแบบการสื่อสารในเส้นทางจาริกแสวงบุญรอยพระพุทธบาทใช้ทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่ม และการสื่อสารระหว่างกลุ่ม โดยยังไม่มีการสร้างเครือข่ายการสื่อสารที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม และ 3) แนวทางการพัฒนากระบวนการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเส้นทาง ประกอบด้วยการสร้างเครือข่ายการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การอบรมเชิงปฏิบัติให้แก่กลุ่มภาคีเครือข่ายและเยาวชนและการจัดทำคู่มือแหล่งท่องเที่ยว

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรวรรณ เวชชานุเคราะห์ และนิธิดา แสงสิงแก้ว. (2558). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พื้นที่ชุมชนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม. สืบค้น 7 มีนาคม 2559, จาก: http://203.131.210.100/ejournal/wp- content/uploads/2015/07/JCIS57002.pdf.

นันทนา ชุติวงศ์. (2533). รอยพระพุทธบาทในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ปิ่นปินัทธ์ สัทธรรมนุวงศ์. (2559). การสื่อสารเพื่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา: โครงการตลาดเก่าอ่างศิลา 133 ปี. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 2 (2) (มิถุนายน– กันยายน), 1-13.

โปรดปราน รังสิมันตุชาติ. (2557). การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา, สำนักงาน, สำนักงานโบราณคดี กรมศิลปากร. (2548). รายงานแผนแม่บทเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินถนนฝรั่งส่องกล้อง. พระนครศรีอยุธยา: ผู้แต่ง.

สยามล เทพทา และวิลาศ เทพทา. (ม.ป.ป.). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมตามรอยเส้นทางจาริกแสวงบุญรอยพระพุทธบาท. สืบค้น 18 กันยายน 2562, จาก: www.psru.ac.th › NACRUII › files › sayamol_guidelines.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำนาจ รักษาพล. (2559). โครงการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร. สืบค้น 18 กันยายน 2562, จาก: https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTk2Njg2.

Berlo, D (1960). แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โล. สืบค้น 18 กันยายน 2562, จาก: http://www.dei.ac.th/ac/005.doc.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01