การพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบมีส่วนร่วมของชุมชมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมสมุนไพรโคกสำโรง ตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา พยุงสิน

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์; การมีส่วนร่วม; การเพิ่มมูลค่า

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมสมุนไพรโคกสำโรง ตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมสมุนไพรโคกสำโรง ตำบลเพนียด  อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี และ 3) เสนอแนวทางในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมสมุนไพรโคกสำโรง ตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้บริโภค จำนวน 400 ชุด มีการสัมภาษณ์จากสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมสมุนไพรโคกสำโรง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          1) สภาพปัจจุบันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมสมุนไพรโคกสำโรงสมาชิกมีการรวมกลุ่มและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่ม สมาชิกทุกคนมีความพร้อมในการปรับตัวสำหรับการเพิ่มทักษะในการแปรรูปสมุนไพรเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคในการใช้สมุนไพร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้รับการสนับสนุนจากทางหน่วยงานท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการจัดจำหน่าย 2) สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านการแสดงความคิดเห็น และร่วมบริหารจัดการภายในกลุ่มด้วยการแบ่งหน้าที่ตามศักยภาพของสมาชิกตั้งแต่กระบวนคัดสรรวัตถุดิบ ผลิต แปรรูป และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 3) แนวทางในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ พบว่า สมาชิกภายในกลุ่มฯ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการเพิ่มทักษะการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการออกแบบตราผลิตภัณฑ์ประจำกลุ่ม โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุก ๆ ขั้นตอนเสนอแนะการออกแบบตรา และบรรจุภัณฑ์ร่วมกันเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และแสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรโคกสำโรงและจากการสำรวจความพึงพอใจของสมาชิกภายในกลุ่มและผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบตราผลิตภัณฑ์ พบว่าพึงพอใจในระดับมาก เนื่องจากบรรจุภัณฑ์และตราผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ของชุมชนและยังสามารถใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ ภายในชุมชนได้อีก         

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม. (2559). แนวโน้มอุตสาหกรรมและขนาดตลาดของธุรกิจแปรรูปสมุนไพร. (ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม, BSC). สืบค้นจาก https://bsc.dip.go.th/th/category/-qualitycontrol/qs-trensherbsproduct

กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แนวทางการดำเนินงานโครงการตลาดนัดชุมชนไทยช่วยไทยคนไทยยิ้มได้.

สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดลพบุรี.

ปัณณ์ณัช ธนัทพรรษรัตน์ และ ฉันทนา สุรัสวดี. (2557). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนโดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน บ้านคลองเดื่อพัฒนา ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

วัฒนา บันเทิงสุข. (2546). การวิจัยเชิงปฏิบัติการณ์แบบมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้สมุนไพรในชุมชนบ้านซากตับเต่า จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรณา กัลยาสายและคณะ. (2552). โครงการแนวทางการพัฒนาบรรจะภัณฑ์และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายขนมแของกลุ่มพัฒนาอาชีพ บ้านคำแสนราชเหนือ ตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศศิวิมล จุลศิลป์. (2551). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้กระบวนการ เอไอซี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01