การเพิ่มทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาโดยใช้ โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ
คำสำคัญ:
ทักษะชีวิต; โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต; ทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ; นักศึกษาอาชีวศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาก่อนกับหลังใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีต่อโปรแกรมฝึกทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประจำปีการศึกษา 2559 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ทั้ง 6 ภูมิภาค โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้ 18 วิทยาลัย ๆ ละ 1 ห้องเรียน มีนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 507 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ เครื่องมือที่ใช้วัด ตัวแปรตาม ได้แก่ แบบประเมินทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนอาชีวศึกษา และแบบประเมินความพึงพอใจการใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และ t-test
ผลการวิจัยปรากฏว่า
1) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาหลังใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) นักเรียนอาชีวศึกษามีความพึงพอใจการใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมากขึ้นไป
สรุปได้ว่า โปรแกรมฝึกทักษะชีวิตด้านทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณสามารถเพิ่มทักษะ ทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนอาชีวศึกษาได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว