การออกแบบและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิก ในการถ่ายทอดความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชน เพื่อส่งเสริมความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชุมชนบ้านคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
ข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหว; หลักการอินโฟกราฟิก; ความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้จากงานวิจัยในการออกแบบและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศ เชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟฟิก 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิก 3) เพื่อหาประสิทธิภาพของข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิก และ 4) เพื่อประเมินการรับรู้ของคนในชุมชนต่อข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกในการถ่ายทอดความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชน เพื่อส่งเสริมความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนบ้านคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชาวบ้านหมู่ 3 บ้านคลองโคน ตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จำนวน 226 คน โดยเลือกตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) สื่อข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกฯ 2) แบบวิเคราะห์การออกแบบและพัฒนาเนื้อหาข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกฯ 3) แบบประเมินประสิทธิภาพข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวฯ 4) แบบประเมินประสิทธิภาพข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกฯ 5) แบบประเมินการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกฯ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า องค์ความรู้จากงานวิจัยในการออกแบบและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟฟิกฯ ประกอบด้วยปัจจัยอิทธิผลจาก 1) สภาพภูมิประเทศ 2) สภาพภูมิอากาศ 3) การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม 4) การทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลจากชุมชน 5) การปล่อยสิ่งปฏิกูลจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ ระดับออกซิเจนในน้ำ อุณหภูมิน้ำในบริเวณชุมชนคลองโคน และอาหารของหอยแครงที่ขาดแคลน ผลการออกแบบและพัฒนาข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกฯ ได้สื่อนำเสนอข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหว เรื่อง รักษาธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่มีความยาว 4.25 นาที ความละเอียด 720p แบบ High Definition (1,280 x 720 pixels) ที่นำเสนอข้อมูลสารสนเทศจากปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมในการผลิตหอยแครงในชุมชนบ้านคลองโคน นำเสนอข้อมูลการแก้ปัญหาและวิธีการรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชนบ้านคลองโคน ด้วยสื่อโมชันอินโฟกราฟิก ประสิทธิภาพของข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกฯ จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อดิจิทัลมีเดีย พบว่า ประสิทธิภาพของข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกฯ อยู่ในระดับ มาก (= 4.15 S.D. = 0.62) และจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ประสิทธิภาพของข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกฯ อยู่ในระดับ มาก (= 4.07 S.D. = 0.75) และผลการประเมินการรับรู้ของคนในชุมชนต่อข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวตามหลักการอินโฟกราฟิกฯ พบว่า การรับรู้ของคนในชุมชนต่อข้อมูลสารสนเทศเชิงภาพเคลื่อนไหวฯ มีค่าเฉลี่ยการรับรู้อยู่ในระดับ มาก (= 4.16 S.D.= 0.68)
Downloads
References
กิจติพงษ์ ประชาชิต. (2559). การออกแบบและพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อนำเสนอตำนานเมืองศรีสะเกษ.วารสารวิถีสังคมมนุษย์. 4(1): 116-135.
ฉันทนา ปาปัดถา และอรปรียา หนองใหญ่. (2562). โมชันอินโฟกราฟิกระบบการรับสมัครนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 2(2): 128-136.
นฤมล ถิ่นวิรัตน์. (2555) .อิทธิพลของอินโฟกราฟิกต่อการสื่อสารข้อมูลเชิงซ้อน กรณีศึกษาโครงการ “รู้สู้ Flood”. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันท์. (2556). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันเพื่อเพิ่มศักยภาพการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม. มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชิต ธิอิ่ม. (2553). การใช้สื่อรณรงค์ต่อต้านการทุจริตของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2542-2553. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีรวัฒน์ สุขเกษม. (2563). การพัฒนาสื่อโมชั่นอินโฟกราฟิกในการเสริมสร้างจิตสำนึกเพื่อการต่อต้านและการป้องกันต้านการทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1): 75-87
พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2560). การพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2): 1330-1341.
ธนัท สมณคุปต์ และพัทธนันท์ บุตรฉุย. (2562). การสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลของวิสาหกิจชุม. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ECT Journal, 16: 11-22.
วัชรี แซงบุญเรืองและคณะ. (2560). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเรียนเสมือนจริงสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(1): 25-32.
สมโชค เนียนไธสง และคณะ. (2561). การพัฒนาสื่อโมชั่นกราฟิกเพื่อป้องกันการเกิดภาวะโรคอ้วนในเด็กช่วงอายุ 6-12 ปี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดดอนเสลา (ปาน พูน รัฐราษฎร์บำรุง). วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 5(1): 187-201.
อัญญปารณย์ ศิลปะนิลมาลย์. (2561). ผลการใช้สื่อแอนิเมชั่นอินโฟกราฟิก วิชาสัมมนาคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3): 26-33.
Jun Sakurada. (2015). Basic Infographic ใช้พลังของภาพ สร้างการสื่อสารที่ง่ายและสนุก. IDC Premier Company. Thailand.
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว