การพัฒนาประสิทธิภาพการอ่านด้วยสื่อดิจิทัลร่วมกับการโค้ชสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ขวัญทิชา เชื้อหอม

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการอ่าน; สื่อดิจิทัล; การโค้ช; ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัล เรื่อง การอ่านสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยในการวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและการทดลอง ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยตามแนวทางการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กอ่อน (แบ่งประเภทกลุ่มตามคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3 กลุ่ม ได้แก่ เก่ง ปานกลางและอ่อน) ผู้วิจัยเลือกแบบวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยคัดเลือกนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านไม่คล่อง ได้แก่ การอ่านรูปคำ และการตีความหมายของคำ (โดยการคัดกรองของครูประจำชั้น) จำนวน 1 ห้องเรียน จากทั้งหมด 11 ห้องเรียนของโรงเรียนในสังกัดเขตธนบุรี จำนวน 4 โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาการประถมศึกษาร่วมกับครูประจำการในภาคการศึกษาปฏิบัติการสอนในโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัล เรื่อง การอ่าน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.92/85.58 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แก้ปัญหา “เด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้” บันได 6 ขั้น-นวัตกรรมใหม่ที่ได้ผล. ค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563, จากhttp://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?

NewsID= 45044&Key=hotnews

ณัฐพงศ์ เชื้อเพชร. (2561). สภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา 13(3) 2561: 82 – 95.

ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์. (2561). อิทธิพลของโปรแกรมการโค้ชการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะของครูผู้สอนเพื่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นภจินดา ธํารงค์จตุพงษ์ และลักษณา คล้ายแก้ว. (2563). การสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิกแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของพลเมืองยุคดิจิทัลเนทีฟ สําหรับเด็กประถมศึกษา. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563, จากfile:///C:/Users/Admin/Downloads/1852-Article%20Text-5169-1-10-20200904.pdf

บุษราคัม ศรีจันทร์. (2560). รูปแบบการโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูที่ส่งเสริม Metacognition ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 9 (1) มกราคม – มิถุนายน 2560: 85 – 99.

ปิยะรัตน์ คัญทัพ. (2545). รูปแบบเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงโดยใช้กระบวนการเรียน. การสอนแบบเว็บ เควสทในระดับประถมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนนานาชาติ. กรุงเทพฯ.

มงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม. (2562). ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้: แนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม. ค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/579593.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

TK Public Online Library. (2562). เทคโนโลยีดิจิทัลกับพฤติกรรมการอ่าน. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563, จาก https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/261/.

TK Public Online Library. (2562). ผลสำรวจการอ่านกับบางข้อเท็จจริงที่ค้นพบและน่าตกใจ. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563, จากhttps://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/261/.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01