การพัฒนาเกณฑ์ปกติวิสัยของมาตรวัดความเจริญงอกงามสำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • อัควิทย์ เรืองรอง

คำสำคัญ:

ปกติวิสัย; มาตรวัด; ความเจริญงอกงาม; นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์ปกติวิสัยของมาตรวัดความเจริญงอกงามสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการนำคะแนนดิบที่ได้จากการทดสอบมาตรวัดความเจริญงอกงาม มาแปลงเป็นปกติวิสัยในรูปของตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ และคะแนนมาตรฐาน (คะแนนซี คะแนนที และคะแนนสเตไนน์) ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,599 คน โดยใช้โปรแกรม LERTAP 5 ซึ่งนำมากำหนดเป็นช่วงคะแนนของมาตรวัดและเปรียบเทียบเป็นสเตไนน์ ออกเป็น 3 ช่วง เท่า ๆ กัน มาตรวัดความเจริญงอกงาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ความเจริญงอกงามทางปัญญา ความเจริญงอกงามทางจิตใจ และความเจริญงอกงามทางสังคม ด้านละ 15 ข้อ รวมทั้งสิ้น 45 ข้อ ผลการวิจัยปรากฏว่า

เกณฑ์ปกติวิสัยของมาตรวัดความเจริญงอกงามสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับดีมาก มีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ตั้งแต่ 77.01 ขึ้นไป (สเตไนน์ที่ 7-9) ระดับดี มีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ตั้งแต่ 23.01 ถึง 77.00 (สเตไนน์ที่ 4-6) และระดับพอใช้ มีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 23.00 (สเตไนน์ที่ 1-3) สรุปว่ามาตรวัดความเจริญงอกงามที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้วัดความเจริญงอกงามของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ และมีการแปลความหมายตามเกณฑ์ปกติวิสัยในแต่ละระดับ เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขการดำเนินชีวิตของตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธ์. (2552). ทฤษฎีการวัดและการทดสอบ. เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.watpon.com.

ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์ พระครรชิต คุณวโร และอรุณี วชิราพรทิพย์. (2551). การพัฒนามาตรวัดสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 17(6), 1650-1660.

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, วิมลรัตน์ วันเพ็ญ, ศศกร วิชัย, พัชรินทร์ อรุณเรือง, จันทร์ชนก โยธินชัชวาล, ธนโชติ เทียมแสง, หนึ่งฤทัย ยี่สุ่นศรี, ธัชกร ป้ายงูเหลือม และนภาพรรณ ล่าเต๊ะ. (2556). การสำรวจสถานการณ์ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงและการติดเกมในนักเรียน โรงเรียนนำร่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข.

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล และเอกอนงค์ สีตลาภินันท์. (2554). คู่มือสร้างสุขระดับจังหวัด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.

ปิยะทิพย์ ประดุจพรม, สุชาดา สกลกิจรุ่งโรจน์, พัชรา สิริวัฒนเกตุ, วิระญา กิจรัตน์, มาณวิกา ศรีวรรณา และชัยยา น้อยนารถ. (2561). การพัฒนาและการตรวจสอบคุณสมบัติทางการวัดของมาตรวัดความเจริญงอกงามสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 21-29.

ปิยะทิพย์ ประดุจพรม, กนก พานทอง และรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์. (2563). การพัฒนามาตรวัดความเจริญงอกงามแบบออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารเกษมบัณฑิต, 21(2), 138-159.

สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, เฉลิมพล สายประเสริฐ, พอตา บุนยตีรณะ และวรรณภา อารีย์. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETER (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 9 เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Compton, W. C., & Hoffman, E. (2013). Positive Psychology: The science of happiness and flourishing. 2nd ed. United States of America: Wadsworth Cengage Learning.

Diener, E., Wirtz, D., Tov, W., Kim-Prieto, C., Choi, D., Oishi, S., & Biswas-Diener, R. (2010). New measures of well-being: Flourishing and positive and negative feelings. Social Indicators Research, 39, 247-266.

Diener, E. D., Emmons, R. A., Larsen, R. J., & Griffin, S. (1985). The satisfaction with life scale. Journal of personality assessment, 49(1), 71-75.

Gregory, R. J. (2007). Psychological testing: history, principles, and applications. Boston: Pearson/Allyn and Bacon.

Henderson, L. W., Knight, T., & Richardson, B. (2013). An exploration of the well-being benefits of hedonic and eudaimonic behaviour. The Journal of Positive Psychology, 8(4), 322–336.

Huppert, F. A., & So, T. T. C. (2013). Flourishing across Europe: Application of a new conceptual framework for defining well-being. Social Indicators Research, 110(3), 837–861.

Huta, V. & Hawley, L. (2010). Psychological Strengths and Cognitive Vulnerabilities: Are They Two Ends of the Same Continuum or Do They Have Independent Relationships with Well-being and Ill-being?. Journal of Happiness Studies, 11, 71–93.

Keyes, C. L. M. (2002). The Mental Health Continuum: From languishing to flourishing in life. Journal of Health and Social Research, 43, 207–222.

Lyubomirsky, S., King, L., & Diener, E. (2005). The Benefits of Frequent Positive Affect: Does Happiness Lead to Success?. Psychological Bulletin, 131(6), 803-855.

Miller, L. A., Lovler, R. L., & McIntire, S. A. (2013). Foundations of Psychological Testing: A Practical Approach (4th ed.). Los Angeles: SAGE.

Ryff, C. D., & Singer, B. (1998). The contours of positive human health. Psychological Inquiry, 9, 1-28.

Seligman, M. E. P. (2011). Flourish: A new understanding of happiness and well-being-and how to achieve them. London: Nicholas Brealey.

Watson, D., Clark, L. A., & Tellegen, A. (1988). Development and validation of brief measures of positive and negative affect: The PANAS Scales. Journal of Personality and Social Psychology, 47, 1063–1070.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01