ผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนออนไลน์โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ออนไลน์; สื่อการเรียนรู้ออนไลน์; นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน; ผลสัมฤทธิ์การเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางการเรียนการสอนออนไลน์โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในการทางการเรียนการสอนออนไลน์โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยได้ทำการศึกษาจากนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 5 คนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาโปรแกรมประยุกต์สำหรับงานห้องสมุดและสารสนเทศ โดยเครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์, สื่อการเรียนรู้ออนไลน์, แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ประกอบไปด้วย 3 ระยะ ได้แก่ 1) ก่อนเรียน การเตรียมความพร้อมในเรื่องของแผนการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์เครื่องมือ และล่ามภาษามือ 2) ระหว่างเรียน การติดตาม พูดคุยซักถาม และบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ 3) หลังเรียน การทวนสอบผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นระยะ นอกจากนี้การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วย สำหรับผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา พบว่า หลังจากนักศึกษาได้รับการเรียนการสอนออนไลน์โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์แล้ว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
Downloads
References
บรรพต พิจิตรกำเนิด. (กันยายน - ธันวาคม 2562). ต้นแบบระบบบันทึกผลการเรียนรูตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. เรียกใช้เมื่อ 17 เมษายน 2563 จาก. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 11(3), 441-450. เข้าถึงได้จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsvrj/article/view/228795/155720
มัณฑนา นนท์ไชย. (2559). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องการร่างภาพจริงให้เป็นลายเส้นและออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ Google classroom สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย. กรุงเทพฯ: ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สายพิณ แก้วชินดวง. (2559). การพัฒนาห้องเรียนออนไลน์สำหรับรายวิชาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุวัฒน์ บรรลือ. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 250-260.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (17 มีนาคม 2563). ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)). เรียกใช้เมื่อ 12 เมษายน 2563 จาก https://www.ops.go.th/main/images/2563/muaAdmin/corona/COVID_3.pdf
อนุชา ภูมิสิทธิพร. ([2560]). เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ. เรียกใช้เมื่อ 17 เมษายน 2563 จาก http://elearning.psru.ac.th/courses/44/บทที่%205.pdf
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว