การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เกษตรกรนวัตวิถี

ผู้แต่ง

  • พัชรี กล่อมเมือง
  • ขจิตพรรณ อมรปาน
  • ณัฏฐา เกิดทรัพย์

คำสำคัญ:

การพัฒนา; ศูนย์การเรียนรู้; เกษตรนวัตวิถี; จังหวัดนครนายก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจทรัพยากรและภูมิปัญญา วิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมการเกษตรของตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เกษตรกร นวัตวิถี 2) ศึกษารูปแบบศูนย์การเรียนรู้เกษตรกรนวัตวิถีของตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ที่เหมาะสมและนำไปใช้ได้จริง 3) ขับเคลื่อนและประเมินผลการใช้รูปแบบศูนย์การเรียนรู้เกษตรกรนวัตวิถี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่  ผู้นำชุมชน เกษตรกร และเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอบ้านนา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม และการทำเวทีกลุ่ม นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาด้วยการยืนยันข้อมูลแล้วนำมาสรุปเพื่อนำเสนอ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมการเกษตร พบว่า 1) ทรัพยากรในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ใช้ประกอบอาชีพทำนาและทำสวน 2) ภูมิปัญญาท้องถิ่นทางการเกษตรมีองค์ความรู้ที่ได้มีการ สั่งสมและสืบทอดติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งในอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน จากรุ่นสู่รุ่นจนกระทั่งเป็นสิ่งที่มีความเหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล ครอบครัว และชุมชนได้อย่างชัดเจน และ 3) วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมเรียบงาย มีความเอื้ออาทรตอกันมีการอยูรวมกันฉันพี่นอง มีการแบงปนและชวยเหลือเกื้อกูลกันมาตั้งแตรุนบรรพบุรุษ สืบสานมาเปนประเพณีและวัฒนธรรมทองถิ่น จึงไดรับการซึมซับถึงวิถีชีวิตที่เรียบงาย และปฏิบัติตนสอดคลองกับระบบประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมของทองถิ่น
  2. รูปแบบศูนย์การเรียนรู้เกษตรกรนวัตวิถีที่เหมาะสมและนำไปใช้ได้จริง พบว่า 1) ลักษณะการเรียนรู้ 2) กระบวนการในการเรียนรู้ของเกษตรกรและประชาชนในชุมชน 3) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้เกษตรนวัตวิถี 4) ความรู้และความพร้อมในการเรียนรู้ของเกษตรกรและประชาชนในชุมชน 5) ผู้นําชุมชนในการบริหารจัดการการดําเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ 6) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เกษตรนวัตวิถี 7) มีสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียน การสอน และงบประมาณ และ 8) เกษตรกรต้นแบบมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตร
  3. ผลการใช้รูปแบบศูนย์การเรียนรู้เกษตรกรนวัตวิถี มีความเหมาะสม เป็นไปได้และเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้จริง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากมีกระบวนการวิเคราะห์ แนวโน้มพัฒนาการของศูนย์การเรียนรู้เกษตรนวัตวิถี และการสำรวจเพื่อศึกษาความต้องการของศูนย์การเรียนรู้ ชุมชน และความต้องการของชาวบ้านในชุมชน ซึ่งทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและประสบความสำเร็จ โดยวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของศูนย์การเรียนรู้ และชุมชนนั้นๆ และผ่านการทดลองใช้ในศูนย์การเรียนรู้เกษตรนวัตวิถี และผ่านการวิเคราะห์ โดยการมส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทำให้ชุมชนเห็นศักยภาพของชุมชน รักชุมชนรักท้องถิ่น รู้จักตัวตนของตนเองและภาคภูมิใจในวิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรม และความเป็นชุมชนของตนเอง

Downloads

Download data is not yet available.

References

ปริยกร เพชรบำรุง. (2558). ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและการอุปถัมภ์ความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนศูนย์การเรียนรู้ ตำบลหมอไทย อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มาลี ไชยเสนา. (2557). การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนในสังคมแห่งการเรียนรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 5(2), 55–68.

สุวุฒิ วรวิทย์พินิต, วรรณวีร์ บุญคุ้ม และนรินทร์ สังข์รักษา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้ วิถีเมืองเพชรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. Veridian E-Journal Silpakorn University. 10(2), 1657-1674.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). รายงานสถิติการศึกษาของประเทศไทย ปี 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02