การจัดการผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • พัลยมน สินหนัง
  • สื่อกัญญา จารุพินทุโสภณ
  • อรุณ ขยันหา
  • ณัฏฐา เกิดทรัพย์

คำสำคัญ:

การพัฒนา; การจัดการผลิตทางการเกษตร; จังหวัดนครนายก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจผลิตผลทางการเกษตรและสภาพการจัดการผลผลิตทางการเกษตร ในพื้นที่ตำบลบ้านนา 2) พัฒนารูปแบบการจัดการผลผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสม และ 3) ขับเคลื่อนและประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการผลผลิตทางการเกษตร ในพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายกให้ประสบความสำเร็จ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบของการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ้านนา จำนวน 237 ครัวเรือน ใช้แบบสำรวจข้อมูลเกษตรกรรมเก็บข้อมูลและทำการวิเคราะห์ด้วยการหาค่าความถี่และค่าร้อยละ การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้นำชุมชน ตัวแทนเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน แล้วนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์ด้วยการตีความเชิงอุปนัยและการวิเคราะห์เชิงตรรกะแล้วใช้การพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สำรวจผลิตผลทางการเกษตรและสภาพการจัดการผลผลิตทางการเกษตร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมพืชหลักคือ ข้าว โดยส่วนใหญ่ทำเกษตรผสมผสาน มีกิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดสามารถเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันและกัน สภาพการจัดการผลผลิตแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านเก็บเกี่ยว 2) ด้านการแปรรูป และ 3) ด้านจำหน่าย มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรโดยการจ้างรถเก็บเกี่ยวข้าว และการจัดการผลผลิตทางการเกษตรโดยการขายข้าวให้แก่โรงสีที่รับสีข้าว หรือการเก็บผลผลิตทางการเกษตรไว้ทานเองในครอบครัว นำมาขายปลีกหน้าบ้านตนเอง อาทิเช่น มะม่วง มะยงชิด
  2. พัฒนารูปแบบการจัดการผลผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสม คือ ส่งเสริมให้มีโรงสีขนาดเล็กภายในชุมชนเพิ่มขึ้น จัดทำวิสาหกิจชุมชน เป็นตัวแทนในการจัดการผลผลิต รวมทั้ง ขายเองโดยตรง ผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น ออนไลน์ การปลูกพืชแบบอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผลผลิตที่นำมาพัฒนารูปแบบการจัดการผลผลิต คือ ข้าว มะม่วง มะยงชิด ไก่ ผักสวนครัว และ หน่อไม้
  3. ผลการขับเคลื่อนและประเมินผลรูปแบบการจัดการผลผลิตทางการเกษตร พบว่า การนำความรู้เรื่องการจัดการผลผลิตทางการเกษตรเข้าไปพัฒนาผลผลิตทางเกษตรที่เป็นผลผลิตนำร่องในการจัดการ ได้แก่ ข้าว มะม่วง มะยงชิด ไข่ไก่ พืชผักสวนครัว และหน่อไม้ มาแปรรูปหรือมีการจัดการผลผลิตแบบใหม่ และขยายการตลาดให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ด้วยการพัฒนาระบบการค้า เชื่อมโยงธุรกิจในระบบสหกรณ์ เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งการประชาสัมพันธ์โครงการต่าง ๆ ผ่านทางศูนย์การเรียนรู้เกษตรนวัตวิถี คณะผู้วิจัยได้พัฒนาเว็บไซต์ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรนวัตวิถีตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้สำหรับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา โครงการพัฒนาเกษตรในยุคไทยแลนด์ 4.0 และยังเป็นการตลาดอีกช่องทางหนึ่งให้กับเกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

Downloads

Download data is not yet available.

References

การพัฒนา; การจัดการผลิตทางการเกษตร; จังหวัดนครนายก

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02