การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐา เกิดทรัพย์ 0846699536

คำสำคัญ:

การพัฒนา, เทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตร, เกษตรอินทรีย์, จังหวัดนครนายก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกร 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และ 3) ขับเคลื่อนและประเมินผลรูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ในพื้นที่เกษตรทดลองนำร่องในพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายกให้ประสบความสำเร็จ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบของการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ้านนา จำนวน 237 ครัวเรือน ด้วยการแจกแบบสำรวจข้อมูลเกษตรกรรมแล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ค่าสถิติด้วยการหาค่าความถี่และค่าร้อยละ การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้นำชุมชน ตัวแทนเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน แล้วนำข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูล มาวิเคราะห์ด้วยการตีความเชิงอุปนัยและการวิเคราะห์เชิงตรรกะแล้วใช้การพรรณนาความผลของการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การใช้เทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกร พบว่า 1) การเพาะปลูก ส่วนใหญ่ใช้ระบบการปลูกพืชแบบธรรมชาติ ด้วยการใช้เทคโนโลยี รถไถ จอบ และเสียม 2) การบำรุงรักษาพืชและกำจัดศัตรูพืช ส่วนใหญ่มีการบํารุงรักษาพืชด้วยการใส่ปุ๋ยคอก และการกำจัดศัตรูพืชด้วยการใช้น้ำหมักมีผลทำให้ศัตรูพืชลดลง ด้วยการใช้เทคโนโลยี กรรไกรตัดกิ่ง เครื่องปั้มน้ำ เครื่องตัดหญ้า และ 3) การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิต ส่วนใหญ่มีการเก็บเกี่ยวด้วยการใช้แรงงานคน ด้วยการใช้เทคโนโลยี กรรไกรสอย และตระกร้อ เป็นต้น
  2. รูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ที่เหมาะสม พบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรในการเพาะปลูกที่เหมาะสม ด้วยวิธีการปลูกพืช วิธีการเตรียมดิน และวิธีการขยายพันธุ์พืชและปรับปรุงพันธุ์ 2) รูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรในการบํารุงรักษาพืชและกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสม ด้วยวิธีการใส่ปุ๋ยและการให้น้ำ วิธีการตัดแต่งและการห่อผลผลิต และวิธีการกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช 3) รูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรในการเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตที่เหมาะสม ด้วยวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต วิธีการแปรรูป และวิธีการจำหน่าย
  3. ผลการขับเคลื่อนและประเมินผลรูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ในพื้นที่เกษตรทดลองนำร่องในพื้นที่ตำบลบ้านนาให้ประสบความสำเร็จ พบว่า 1) เทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรในการเพาะปลูกทุเรียนอินทรีย์และการปลูกผักปลอดสารพิษโดยใช้ระบบสมาร์ทฟาร์ม 2) เทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรในการบํารุงรักษาพืชและกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสม คือ เทคโนโลยีการปลูกชะอมในบ่อซีเมนต์ และ 3) เทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรในการเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตที่เหมาะสม คือ การนำเครื่องคัดแยกเศษวัชพืชมาใช้เพื่อคัดแยกสิ่งแปลกปลอมในข้าว และการจัดตั้งร้านค้าชุมชนเพื่อให้เกษตรกรนำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายด้วยตนเอง เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและเกษตรกรในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน คือ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม

Downloads

Download data is not yet available.

References

จุรีพร กาญจนการุณ และวาสนา วงค์ฉายา. (2553). การยอมรับนวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตรของชุมชนบ้านยองแหละ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

ชนวน รัตนวราหะ. (2550). เกษตรอินทรีย์. กรุงเทพฯ : สํานักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร.

ประสาตร์ สิทธิเลิศ. (2557). เทคโนโลยีเกี่ยวกับการเกษตร. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://issuu.com/sprasart/docs/3.

วันที่สืบค้น, 23 เมษายน 2563.

พรรณรวีย์ จันทรมาศ. (2560). การใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติเพื่อเพิ่มผลิตภาพสินค้าเกษตรแปรรูปของไทย. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีที่.s ฉบับที่.s 92-96.

เลิศชัย วงศ์ชัยสิทธิ์. (2560). การพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา ผักอินทรีย์. กรุงเทพฯ : หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

วิรัช วงสวาห์. (2561). เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://sites.google.com/a/ptss.ac.th/my-work-agri/2-2. วันที่สืบค้น, 23 เมษายน 2563.

เอพร โมฬี และเปรมกมล ปิยะทัต. (2561). แนวทางการพัฒนาศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30