โควิด 19 กับการรู้เท่าทันการแพร่ระบาดของข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • พัชราภา เอื้ออมรวนิช

คำสำคัญ:

โควิด 19; การแพร่ระบาดของข่าวสาร; สื่อสังคมออนไลน์; การรู้เท่าทันสื่อ

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ถือเป็นเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในทั่วโลก มีข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวมากมายปรากฏอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ จนกลายเป็นการแพร่ระบาดของข่าวสาร ทั้งที่เป็นข่าวจริง ข่าวปลอม และข่าวที่มีข้อมูลบิดเบือน โดยข้อมูลจำนวนมากที่เป็นข้อมูลเท็จ หรือข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดปรากฏอยู่ในโลกดิจิทัล ทำให้ผู้คนเกิดความสับสน และอาจมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ รวมถึงเป็นข้อมูลที่ส่งผลให้เกิดความไม่ไว้วางใจต่อการทำงานของหน่วยงานด้านสาธารณสุข ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการรับมือในสถานการณ์การระบาดของโรค ในประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของข่าวสารเช่นเดียวกัน โดยสามารถพบข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือบิดเบือนปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ และได้รับการแชร์ต่ออย่างมากมายจากผู้ไม่รู้เท่าทัน โดยบทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงการรับมือการแพร่ระบาดของข่าวปลอมในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งการที่จะเลือกรับข่าวสารเกี่ยวกับโควิด-19 จากสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้รับสารทุกเพศ ทุกวัย ควรมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อเป็นสำคัญ ซึ่งการสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้แก่คนในสังคมนั้นจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากคนในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ครอบครัว สถาบันการศึกษาที่ต้องมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ให้แก่คนในสังคม เพื่อให้คนในสังคมสามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของข่าวสาร และมีทักษะในการเปิดรับข่าวสารต่างๆ จากสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างมีวิจารณญาณมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

โคแฟค. (ม.ป.ป). Cofact – Join us as a fact checker! ชวนทุกคนมาตรวจสอบข้อมูลข่าวสารร่วมกับเรา. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2564, จาก https://cofact.org/about.

เฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล และธัญญนนทณัฐ ด่านไพบูลย์. (2561). ข่าวลวง ปัญหาและความท้าทาย. วารสารวิชาการ กสทช ประจำปี 2561 : 174-192.

นันทิกา หนูสม. (2560). ลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทย และระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2562). สื่อมวลชนกับการดูแลกำกับตนเอง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 39(3), 150-161.

สรานนท์ อินทนนท์. (2562). รู้เท่าทันข่าว. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและวัยรุ่น.

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. (2021). โคแฟค เผย 5 ข่าวลวงโควิดวนซ้ำระบาดรอบใหม่ แนะสังคมร่วมสกัดไวรัสข่าวสารด้วยความจริงร่วม. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564, จาก https://www.tja.or.th/view/pr-news/332182.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.). (ม.ป.ป). รู้เท่าทันสื่อคืออะไร. ค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2563, จากhttp://bcp.nbtc.go.th/th/detail/2017-01-24-23-12-51.

Bin Naeem, S & Bhatti, R. (2020). The Covid-19 ‘infodemic’: a new front for information professionals. Retrieved March 6, 2021, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/

articles/PMC7323420/.

Merriam-Webster. (n.d.). Words We're Watching: 'Infodemic' Here's a reasonable amount of explanation. Retrieved January 9, 2021, from https://www.merriam-webster.com/words-at-play/words-were-watching-infodemic-meaning.

World Health Organization. (n.d.). Infodemic. Retrieved March 9, 2021, from https://www.who.int/healthtopics/infodemic#tab=tab_1.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02