สื่อบุคคลเพื่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ทวีรัตน์ เลาหทัยชนก
  • วิทยาธร ท่อแก้ว

คำสำคัญ:

สื่อบุคคล; การรณรงค์; หาเสียง; ผู้บริหารท้องถิ่น

บทคัดย่อ

“สื่อบุคคล” มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น เนื่องจากเป็นสื่อที่เข้าสัมผัสกับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริงเป็นสื่อที่สามารถรับรู้ผลตอบกลับของผู้รับสารได้รวดเร็วทันทีทันใด การใช้สื่อบุคคลในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เป็นกระบวนการสื่อสารโดยตรงไปยังผู้รับสาร ซึ่งทำหน้าที่ในการรณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้ รับทราบข้อมูลเนื้อหาของสารที่ทำการรณรงค์  เป็นสื่อที่สามารถเข้าถึง เข้าใจวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ของผู้รับสารได้ดีกว่าสื่ออื่น ๆ การใช้สื่อบุคคลเพื่อการรณรงค์ฯ มีเป้าหมายสำคัญ คือ การให้ความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติพฤติกรรมของผู้รับสารให้เกิดการยอมรับ และตัดสินใจเลือกข้างลงคะแนนให้กับทีมที่ทำการรณรงค์ สำหรับบทความเรื่อง “สื่อบุคคลเพื่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น” เป็นการนำเสนอแนวทางการใช้สื่อบุคคลในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น ให้ประสบผลสำเร็จ อันจะนำไปสู่แนวคิดและการประยุกต์ใช้สื่อบุคคลเพื่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของทีมการเมืองในอนาคต  ผู้สนใจ นักวิชาการสามารถนำไปเป็นแนวทางพัฒนาและประยุกต์ใช้ “สื่อบุคคล” สำหรับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งต่อไป   

Downloads

Download data is not yet available.

References

จีรทีปต์ ทองสุข. (2549). กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ทางการเมืองของวุฒิสมาชิก. นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์. (2555). การสื่อสารเพื่อแสวงหาผลประโยชน์สูงสุดของหัวคะแนน. (วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

ธนารีย์ สะสุนทร. (2558). การปัญหาและการแก้ปัญหางานประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาค ตะวันตก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2550). พรรคการเมืองกับการรณรงค์ทางการเมือง. (บทความ สถาบันพระปกเกล้า). เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php วันที่สืบค้น 5 พฤษภาคม 2564

นันทนา นันทรวโรภาส. (2549). ชนะเลือกตั้งด้วยพลังการตลาด. กรุงเทพ: ตะวันออก.

. . (2557). สื่อสารการเมือง ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้: แมสมีเดีย.

ยุทธพร อิสรชัย. (2561). หน่วยที่ 8 แนวคิดการสื่อสารทางการเมือง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรลักษณ์ พุ่มพวง. (2556). บทความงานวิจัย. บทบาทหัวคะแนนกับการเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการวิจัย:ฉบับบัณฑิตศึกษา ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กค. – ธค. 2556).

วิทยาธร ท่อแก้ว. (2562). การวิจัยกับการรณรงค์ทางการเมืองและสังคม. ในคณะกรรมการกลุ่มผลิตและ บริหาร ชุดวิชาฯ, การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น

ขั้นสูง(น.4-4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุระชัย ชูผกา. (2550). ดุลยภาพของการรณรงค์หาเสียงในตลาดเลือกตั้งไทย. วารสารรามคำแหง

ฉบับมนุษย์ศาสตร์. แหล่งที่มา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/huru/article/view/25641

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2559). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: ระเบียงทอง.

เสรี วงษ์มณฑา. (2546). การประยุกต์ทฤษฎีในการสื่อสาร. ในเอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการ สื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 20. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Karl W. Deustch. The Nerves of Government : Models of Political Communication and Control. New York: The Free Press, 1966.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02