พัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารของนักเรียนชั้นอนุบาลโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
คำสำคัญ:
การพัฒนาการคิดเชิงบริหาร; เด็กปฐมวัย; กิจกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารของนักเรียน
ชั้นอนุบาล โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย-หญิง อายุ 3-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ชั้นอนุบาลปีที่ 2 และชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 83 คน จำแนกเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 3-4 ปี) จำนวน 28 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ปี) จำนวน 30 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียน (แบบ MU.EF -101) และแผนการจัดกิจกรรมแผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานชั้นอนุบาลปีที่ 1 แผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะชั้นอนุบาลปีที่ 2 และแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The One Group, Pretest-Posttest Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าคะแนน T ค่าร้อยละ และค่าคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ (Relative Gain Score)
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการศึกษาพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารของนักเรียนชั้นอนุบาลก่อนและหลังการทดลอง สรุปได้ว่า หลังจากนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ได้รับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ พบว่า มีพัฒนาการด้านการคิดบริหารเปลี่ยนแปลงไปในระดับที่ดีขึ้น (พิจารณาจากค่าคะแนน T)
- ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารก่อนและหลังการทดลอง สรุปได้ว่าหลังจากนักเรียนชั้นอนุบาลได้รับการจัดกิจกรรม นักเรียนชั้นอนุบาลมีพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในภาพรวมสูงขึ้น โดยนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85.71) มีพัฒนาการสัมพัทธ์อยู่ในระดับกลาง (คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์=33-50 คะแนน) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 56.67) มีพัฒนาการสัมพัทธ์อยู่ในระดับสูง (คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์=54-74 คะแนน) และนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 64) มีพัฒนาการสัมพัทธ์อยู่ในระดับสูง (คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์=52-74 คะแนน)
Downloads
References
กรองทอง บุญประคอง. (2561). กิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะสอง EF บนพื้นฐานพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน. ใน สุภาวดี หาญเมธี, ธิดา พิทักษ์สินสุข และภาวนา อร่ามฤทธิ์. (บรรณาธิการ) คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. (น.200). กรุงเทพฯ: บริษัทรักลูกกรุ๊ป จำกัด.
เกริก ยุ้นพันธ์. (2543). การเล่านิทาน. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
จิราพร พนมสวย และสริตา เจือศรีกุล. (มกราคม–มิถุนายน, 2563). ผลของกิจกรรมศิลปะตามแนวคิดมอนเตสซอรี่เพื่อพัฒนาการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางการเห็น. วารสารครุศาสตร์สาร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 14(1), 114-129.
ธีราลักษณ์ เนตรนิลวีรโชติ. (ธันวาคม, 2561). ผลของโปรแกรมการเล่านิทานประกอบภาพโดยใช้พระบรมราโชวาทในหลวงรัชกาลที่ 9 ต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมองในเด็กปฐมวัย. วารสารการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24 (2), 62-79.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล (บรรณาธิการ). (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิด เชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล.
พัชรี ผลโยธิน. (2561). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการคิดเชิงบริหาร. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดประสบการณ์ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย. (เล่ม 2, หน่วยที่ 8, น. 8-1 ถึง 8-57). นนทบุรี: สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561 -2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
สุภาวดี หาญเมธี. (2559). ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ Executive Functions = EF. สืบค้นจาก https://www.rlg-ef.com/download/ef-1-2/.
อัญชนา ใจหวัง. (2561). ผลของกิจกรรมการเต้นสร้างสรรค์ที่มีต่อทักษะการคิดเชิงบริหารพื้นฐานในเด็กปฐมวัย. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
Diamond, A. and K. Lee (2011). Interventions shown to aid executive function development in children 4 to 12 years old. Science. 333(6045): 959-964.
Thibodeau, R. B., Gilpin, A.T., Brwn, M.M., & Meyer, B.A. (2016). The effects of fantastical pretend-play on the development of executive functions: An intervention study. J Exp Child Psychol. 145:120-138. doi: 10.1016/j.jecp.2016.01.001
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว