นวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ ศรีหิรัญ

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการสื่อสาร; การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม; ชุมชนระนอง; การท่องเที่ยวระนอง

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดระนอง 2) เพื่อค้นหาและวิเคราะห์นวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดระนอง และ 3) เพื่อพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดระนองอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนระนอง แกนนำหรือตัวแทนชุมชน นักท่องเที่ยว และนักวิชาการด้านการสื่อสารและการท่องเที่ยว รวม 37 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การตีความในลักษณะของการบรรยายเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองสภาพการณ์ปัจจุบันด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวระนองว่ามีการสื่อสารระหว่างคนในชุมชนอยู่ในระดับค่อนข้างดี และมีการสื่อสารเพื่อการกระจายรายได้กันอย่างทั่วถึง  โดยนวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ของการท่องเที่ยวจังหวัดระนองคือ ชาวชุมชนควรเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับกิจกรรมที่ต้องทำเมื่อมาเที่ยวระนองหรือ The Must in Ranong คือ“การแช่น้ำแร่ระนอง”โดยควรปรับเปลี่ยนสถานที่แช่น้ำแร่ร้อนให้มีมาตรฐานเป็นสากล นวัตกรรมเชิงกระบวนการฯ ควรเน้นการสื่อสารที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งให้นักท่องเที่ยวมีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการขับเคลื่อนนวัตกรรมนี้ซึ่งก็คือชาวชุมชนสร้างกิจกรรมส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมเผยแพร่ความประทับใจในการมาเที่ยวจังหวัดระนองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ก ยูทูป อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ เช่น เป็นการรณรงค์แคมเปญ “เที่ยวสุขใจแท้ แช่น้ำแร่ระนอง”

          นวัตกรรมเชิงตำแหน่งฯ ควรเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวให้เข้าถึงการบริการใหม่ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยการตั้งกลุ่มในสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กและไลน์ ชื่อกลุ่มว่า “รักระนอง”หรือ Love Ranong สร้างการเปลี่ยนตำแหน่งจากการสื่อสารมวลชนกลุ่มใหญ่ทั่วไปมาเป็นการสื่อสารเฉพาะกลุ่มยิ่งขึ้น, นวัตกรรมเชิงกระบวนทัศน์ฯ ควรเน้นสื่อสารว่า การมาแช่น้ำแร่ร้อนที่ระนองเป็นรายการสำคัญที่สุดข้อหนึ่งในชีวิต หรือที่เรียกว่า “Bucket LIst”,นวัตกรรมเชิงสังคมฯ ควรสื่อสารในลักษณะ“ทุกคนที่ระนองคือ ผู้ชนะ”(Win-Win Society) โดยนักท่องเที่ยวได้รับการบริการที่ดี ได้ความสนุกสนาน ได้ผ่อนคลาย และได้ประสบการณ์ใหม่ๆ และชาวชุนชนระนองก็ได้รับน้ำใจไมตรี ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นต่างๆ และ ได้มีรายได้จากการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วิโรจน์ ศรีหิรัญ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดระนอง 2) เพื่อค้นหาและวิเคราะห์นวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดระนอง และ 3) เพื่อพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดระนองอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนระนอง แกนนำหรือตัวแทนชุมชน นักท่องเที่ยว และนักวิชาการด้านการสื่อสารและการท่องเที่ยว รวม 37 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การตีความในลักษณะของการบรรยายเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองสภาพการณ์ปัจจุบันด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวระนองว่ามีการสื่อสารระหว่างคนในชุมชนอยู่ในระดับค่อนข้างดี และมีการสื่อสารเพื่อการกระจายรายได้กันอย่างทั่วถึง  โดยนวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ของการท่องเที่ยวจังหวัดระนองคือ ชาวชุมชนควรเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับกิจกรรมที่ต้องทำเมื่อมาเที่ยวระนองหรือ The Must in Ranong คือ“การแช่น้ำแร่ระนอง”โดยควรปรับเปลี่ยนสถานที่แช่น้ำแร่ร้อนให้มีมาตรฐานเป็นสากล นวัตกรรมเชิงกระบวนการฯ ควรเน้นการสื่อสารที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งให้นักท่องเที่ยวมีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการขับเคลื่อนนวัตกรรมนี้ซึ่งก็คือชาวชุมชนสร้างกิจกรรมส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมเผยแพร่ความประทับใจในการมาเที่ยวจังหวัดระนองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ก ยูทูป อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ เช่น เป็นการรณรงค์แคมเปญ “เที่ยวสุขใจแท้ แช่น้ำแร่ระนอง”

          นวัตกรรมเชิงตำแหน่งฯ ควรเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวให้เข้าถึงการบริการใหม่ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยการตั้งกลุ่มในสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กและไลน์ ชื่อกลุ่มว่า “รักระนอง”หรือ Love Ranong สร้างการเปลี่ยนตำแหน่งจากการสื่อสารมวลชนกลุ่มใหญ่ทั่วไปมาเป็นการสื่อสารเฉพาะกลุ่มยิ่งขึ้น, นวัตกรรมเชิงกระบวนทัศน์ฯ ควรเน้นสื่อสารว่า การมาแช่น้ำแร่ร้อนที่ระนองเป็นรายการสำคัญที่สุดข้อหนึ่งในชีวิต หรือที่เรียกว่า “Bucket LIst”,นวัตกรรมเชิงสังคมฯ ควรสื่อสารในลักษณะ“ทุกคนที่ระนองคือ ผู้ชนะ”(Win-Win Society) โดยนักท่องเที่ยวได้รับการบริการที่ดี ได้ความสนุกสนาน ได้ผ่อนคลาย และได้ประสบการณ์ใหม่ๆ และชาวชุนชนระนองก็ได้รับน้ำใจไมตรี ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นต่างๆ และ ได้มีรายได้จากการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

References

กฤตชญา เทพสุริวงค์ และเขมิกา คุ้มเพชร. (2560). ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยตามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการท่องเที่ยวเกาะพยาม จังหวัดระนอง. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2560.

ทิพย์สุดา ปานเกษม และพรพรรณ ประจักรเนตร. (2559). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน. การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2559 คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นฤมล พฤกษา และสายสนิท พงศ์สุวรรณ. (2560). คุณภาพของแหล่งน้ำพุร้อนจังหวัดระนองกับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระนอง.

ประกายกาวิล ศรีจินดา. (2555). การศึกษาวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาด (4Ps) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. วารสารเวอร์ริเดียน อี-เจอร์นัล ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และศิลปะ. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิยาลัยศิลปากร. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม–เมษายน 2559.

พวงชมพู ไชยอาลา แสงรุ่งเรืองโรจน์. (2556). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม: กลไกในขับเคลื่อนแนวคิดสู่การปฏิบัติ ภายใต้กระบวนทัศน์การพัฒนาแบบทางเลือก. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2556.

วิคิเนีย มายอร์. (2555). การศึกษาแรงจูงใจการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนรักษะวารินและบ่อน้ำร้อนพรรั้ง จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศุภกิจ แดงขาว. (2557). นวัตกรรมการสื่อสารแนวคิดค่านิยมของคนไทย 12 ประการ ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา. วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์. (2558). การพัฒนาการสื่อสารภาพลักษณ์และตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยวอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

สุชาดา แสงดวงดี, เยาวภา บัวเวช และมาริษา สุจิตวนิช. (2557). รูปแบบการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครปฐม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Avila Foucat. (2002). Community-based ecotourism management moving towards sustainability, Ventanilla, Oaxaca, Mexico.Ocean & Coastal Management, 45(8), 511– 529.

Gale, R. (2005). Sustainable Tourism: The Environmental Dimensions of Trade Liberalization in China. D. Shrubsole and N. Watson (Eds.), Sustaining Our Futures: Perspectives on Environment, Economy and SocietyUniversity of Waterloo , Waterloo, Ontario.

Heath, R. L. & Bryant, J. (2000). Human communication theory and research : Concept, context and challenge. (2nd ed.). Mahwah, NJ : Lawrence Erlbaum.

Saengsiriroj, P. (2011). Hot Spring Goers: A Case Study of Raksawarin Hot Spring, Ranong Province, Thailand. AU-GSB-e-Journal, 4(1): 118-125.

Scannell, P. (2007). Media and communication. London: Sage Publication.

Storsul, T. and Krumsvik, A. H. (Eds.).(2013). Media Innovation A Multidisciplinary Study of Change. Goteborg: Nordicom.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02