ประสิทธิผลเจลพอกเข่าต่อระดับความปวดของเข่าในผู้สูงอายุที่มารับบริการณ ช่อชงโคคลินิกการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • อาวุธ หงษ์ศิริ -

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, เจลพอกเข่า, อาการปวดเข่า

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลเจลพอกเข่าต่อระดับความปวดของเข่าในผู้ป่วยมารับบริการช่อชงโคคลินิกการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย เจลพอกเข่า แบบประเมินอาการผู้ป่วยแบบประเมินวัดระดับความเจ็บปวด ซึ่งได้รับการพอกเข่าด้วยเจลพอกเข่าทั้งหมด 3 ครั้ง ใช้รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยกึ่งทดลองวัดผลก่อนและหลังทดลอง ด้วยแบบประเมินวัดระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังทำการพอกเจลเข่า (Visual Analogue Scale) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และ t-test             

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่าจำนวนทั้งหมด 40 ราย เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิง 32 ราย คิดเป็นร้อยละ 80 เพศชาย 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 20 อายุกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เฉลี่ย 60-69 ปี คิดเป็นร้อยละ 45 กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนพอกเจล เท่ากับ 6.00 (S.D.=1.175) ค่าเฉลี่ยหลังการพอกเจล เท่ากับ 3.00 (S.D.=0.697)  ครั้งที่ 2 ค่าเฉลี่ยก่อนการพอกเจลเท่ากับ 4.70 (S.D.= 1.198) ค่าเฉลี่ยหลังพอกเจล เท่ากับ 2.00 (S.D.= 0.659) และครั้งที่ 3 ก่อนพอกเจล เท่ากับ 4.10  (S.D.= 1.141) ค่าเฉลี่ยหลังพอกเจล เท่ากับ 1.90 (S.D.= 0.503) ซึ่งค่าเฉลี่ยระดับความปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value) 0.05 การใช้เจลพอกเข่าสามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาทดแทนการใช้ยารับประทานได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กลุ่มงานวิชาการเวชกรรมและผดุงครรภ์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, (2564). คู่มือแนวเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์ จำกัด

เกียรติสุดา เชื้อสุพรรณ และคณะ. (2563). ประสิทธิผลของการพอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านภูมิ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน.2(6), 155-167

เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์, วินัย สยอวรรณ, วรายุส คตวงส์, ณัฐสุดา แก้ววิเศษ, อิศรา ศิรมณีรัตน์. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำรับยาพอกสูตรที่ 1 กับยาพอกสูตรที่ 2 ต่ออาการปวดเข่าและการเคลื่อนไหวข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. โรงพยาบาลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 11(1), 64-72

ธีระ ผิวเงิน, ขนิษฐา ทุมา. (2563). การเปรียบเทียบผลของการใช้ลูกประคบไพลและลูกประคบเถาวัลย์เปรียง ต่ออาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 18(2), 298- 306.

ปิยะพล พูลสุข, สุชาดา ทรงผาสุข, เมริษา จันทา, เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์, กิตรวี จิรรัตน์สถิต. (2560). ประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม.ธรรมศาสตร์เวชสาร. 18(1), 104-111

มูลนิธิส่งเสริมฟื้นฟูการแพทย์ไทยเดิมฯ โรงเรียนอายุรเวท.(2555). หัตถเวชกรรมแผนไทย (นวดแบบราช สำนัก). กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์

วิยดา กวานเหียน และกิ่งกาญจน์ บันลือพืช. (2561). ความเป็นพิษต่อเซลล์ ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้าน อนุมูลอิสระของตำรับยาห้ารากที่สกัดด้วยน้ำ.วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 39(2), 27-38

วริศรา ขจรวนิชโชติ, วสมน บุนนาค. (2557). ฤทธิ์ต้านอักเสบของสารสกัดจากดองดึง. วิทยานิพนธ์ปริญญา เภสัชศาสตร์บัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริพร แย้มมูล, เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์, อิศรา ศิรมณีรัตน์. (2561). ประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำรับ สมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคจับโปงแห้งเข่า โรงพยาบาลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี. 1(1), 16-27

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2551). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป เล่ม 2 : 350 โรคกับการดูแลรักษาและ การป้องกัน. กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.

หน่วยเวชระเบียนรายงานสถิติประจำปี2563. งานเวชระเบียนและสถิติ. ช่อชงโคคลินิกการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ.

อำภา คนซื่อ ชยันต์ พิเชียรสุนทร จินตนา สัตยาศัย ประภาวดี พัวไพโรจน์ ศุภชัย ติยวรนันท์. การศึกษาฤทธิ์ลดไขของยาเบญจโลกวิเชียรในสัตว์ทดลอง.(2551). วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 6(2), 42

Kuptniratsaikul V, Rattanachaiyanont M. (2550). Validation of a modified Thai version of the Western Ontario and McMaster (WOMAC) osteoarthritis index for knee osteoarthritis. ClinRheumatol. 26, 1641

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30