การสำรวจสถานภาพงานวิจัยด้านการสื่อสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ภัทรเวช ฟุ้งเฟื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การสื่อสาร / การวิจัยการสื่อสาร / สถานภาพการวิจัยการสื่อสาร / เอเชียตะวันออกเฉียงใต้/ อาเซียน

บทคัดย่อ

การสำรวจสถานภาพงานวิจัยด้านการสื่อสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียน
มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาองค์ความรู้ด้านการสื่อสารในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียน เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการสื่อสารในประเด็นดังกล่าว ผ่านการศึกษางานวิจัยและวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2558

ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวมีงานวิจัยและวิทยานิพนธ์จำนวน 24 เรื่อง เป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวน 20 เรื่อง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 4 เรื่อง ด้านองค์ประกอบด้านการสื่อสารที่ศึกษามากที่สุด ได้แก่ องค์ประกอบด้านเนื้อหาสารและตัวสื่อ รองลงมาเป็นด้านผู้ส่งสารและผู้รับสารตามลำดับ ด้านแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ศึกษามากที่สุดคือกลุ่มทฤษฎีสื่อสารมวลชน ขณะที่วิธีวิทยาที่นิยมนำมาศึกษาเป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เช่นเดียวกับการประยุกต์แบบจำลองการสื่อสารเชิงพิธีกรรมเป็นแนวทางในการศึกษามากที่สุด สำหรับด้านเนื้อหาหรือปรากฏการณ์ทางการสื่อสารที่ถูกนำมาศึกษา พบว่าส่วนใหญ่ศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนมากที่สุด รองลงมาเป็นการศึกษาบริบททางการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับประเทศในภูมิภาค แต่เน้นหนักไปที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมามากกว่าประเทศอื่น นอกจากนี้ยังไม่พบงานวิจัยที่ศึกษาประเทศบรูไนดารุสซาลาม สหพันธรัฐมาเลเซีย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต แม้แต่เรื่องเดียว

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกวรรณ สมรักษ์. (2555). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติและแนวโน้มพฤติกรรมต่อเรื่อง

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC. รายงานโครงการเฉพาะบุคคล (การจัดการสื่อสารองค์กร),

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กรมอาเซียน, กระทรวงการต่างประเทศ. (2555). แผนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (3 เสา). กรุงเทพฯ: คาริสม่า

มีเดีย.

กรรณิการ์ วรหาร. (2556). การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นเวียดนามของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในหมู่บ้าน

มิตรภาพไทย – เวียดนาม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต

(สื่อสารมวลชน), คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ของสื่อสารศึกษาไทย. รายงายวิจัยฉบับสมบูรณ์, สำนักงานกองทุน

สนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เกศราพร ทองพุ่มพฤกษา. (2557). การนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับประเทศไทยที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวัน

ภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษาหนังสือพิมพ์สิงคโปร์. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะวารสารศาสตร์และ

สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กำจร หลุยยะพงศ์. (2547). ปฐมบทแห่งการสื่อสารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วารสารศิลปศาสตร์. 4(1), 14-31.

ขวัญชนก ณียวัฒน์. (2555). การสื่อสารภาคประชาชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจ

ประชาคมอาเซียนในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศ

ศาสตร์), คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขวัญชนก พันธุฟัก. (2557). การสื่อสารและการปรับตัวของแรงงานพม่าในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศ

ศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์), คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2543). พัฒนาการของอุษาคเนย์ในไทย – สำรวจสถานภาพอุษาคเนย์ศึกษาในสถาบัน.

ใน อัมพร จิรัฐติกร (บ.ก.), เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา: สายไปแล้วหรือยัง?. (น. 51 - 60).

กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ญาณิศา บุญประสิทธิ์. (2557). นาฏศิลป์ สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในเวที

ประชาคมอาเซียน. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฏฐ์ชยา ลีลา. (2557). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ การรับรู้ และแนวโน้มพฤติกรรมเกี่ยวกับ

ประชาคมอาเซียนของครูประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต

(การจัดการสื่อสารองค์กร), คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนกร ศรีสุกใส. (2556). ประเทศไทยกับการกำหนดวาระข่าวสารเรื่องการเปิดประชาคมอาเซียน.

วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารมวลชน), คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นนทรี เหมทานนท์. (2556). วิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหารายการโทรทัศน์เกี่ยวกับอาเซียนระหว่างประเทศไทย

และประเทศอินโดนีเซีย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารมวลชน), คณะวารสารศาสตร์

และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิภากร กำจรเมนุกูล. (2556). การสื่อสารการเมืองของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารมวลชน), คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เนตรนิภา ชาอ้าย. (2556). การสร้างอัตลักษณ์นักการเมืองสตรีในสื่อมวลชนกลุ่มประเทศอาเซียน: การ

วิเคราะห์วาทกรรมผ่านสื่อ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร),

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2556). การรับรู้และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของนักเรียนไทยกับคนในกลุ่มประเทศ

อาเซียน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ. (2557). การปฏิบัติการด้านสารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์การโฆษณา

และการสื่อสารมวลชน กรณีศึกษา: ความสัมพันธ์ไทย – กัมพูชาในประเด็นปราสาทเขาพระวิหาร.

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พงศ์พิทยา แฉ่งฉายา. (2556). การกำหนดวาระสารของสื่อโทรทัศน์ที่มีต่อประเด็นอาเซียน. วิทยานิพนธ์

วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารสื่อสารมวลชน), คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พนิดา จงสุขสมสกุล. (2556). การสื่อสารในการจัดการภัยพิบัติ: กรณีศึกษาอุทกภัยในประเทศไทยและประเทศ

ฟิลิปปินส์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารมวลชน), คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรชัย ฉันต์วิเศษลักษณ์. (2557). การนำเสนอเนื้อหาด้านวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียนในรายการ

สารคดีโทรทัศน์ไทย. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดช. (2557). การวิเคราะห์อัตลักษณ์ความเป็นชาติและความเป็นภูมิภาคของกลุ่มประเทศ

อาเซียน: ศึกษากรณีเฟซบุ๊คแฟนเพจ ASEAN Community. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์,

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุจน์ โกมลบุตร. (2557). การนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับประเทศไทยที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ของสาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยประชาชนลาว: ศึกษากรณีหนังสือพิมพ์ “ประชาชน”. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์,

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วราวุธ ถนอมจิตร์. (2558). ความสัมพันธ์ของการเปิดรับละครโทรทัศน์กับค่านิยมทางวัฒนธรรม

และรูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนลาวในนครหลวงเวียงจันทน์. วิทยานิพนธ์วารสาร

ศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารสื่อสารมวลชน), คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วารุณี โอสถารมย์. (2544). แบบเรียนไทยกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “เพื่อนบ้านของเรา”ภาพสะท้อนเจตนคติ

อุดมการณ์ชาตินิยมไทย, รัฐศาสตร์สาร. 22(3), 1-83.

วิไลวรรณ รุ่งเรืองรัตน์. (2542). สถานภาพการศึกษาสื่อมวลชนไทยโดยนักวิจัยชาวต่างประเทศ.

วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารมวลชน), คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมสุข หินวิมาน. (2556). การสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่องสื่อพิธีกรรมกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น.รายงานการ

วิจัยฉบับสมบูรณ์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อดิเทพ เกตุชาติ. (2557). การสื่อสารภายในองค์กรของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในภูมิภาค

อาเซียน. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารสื่อสารมวลชน), คณะวารสารศาสตร์และ

สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อนงค์ลักษณ์ สมแพง. (2557). สถานการณ์และความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสำนักข่าวอาเซียนในมุมมองของ

นักการสื่อสารไทย. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน), คณะวารสารศาสตร์และ

สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อรนุช เลิศจรรยารักษ์. (2558). ความเป็นไปได้ในการก่อตัวขององค์กรข่าว ASEAN NEWS NETWORK:

มุมมองประเทศไทย. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัจฉรา รัศมีโชติ. (2556). ภาพตัวแทนพม่าในละครโทรทัศน์ไทย. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต

(สื่อสารมวลชน), คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัตนันท์ เตโชพิศาลวงศ์. (2554). วาทกรรมสะท้อนภาพไทยผ่านหนังสือพิมพ์ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง.

วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารมวลชน), คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cresswell, J. W. (1994). Research Design: Qualitative ans Quantitative Approaches.

Thousand Oaks, CA: Sage.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30