การสื่อสารในภาวะวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ประภวิษณุ์ พนัสทรัพย์สุข -
  • รัตนา บุญอ่วม
  • ณัฐกานต์ แก้วขำ
  • สิงห์ สิงห์ขจร

คำสำคัญ:

การสื่อสารภาวะวิกฤต, การจัดการภาวะวิกฤต, โควิด19

บทคัดย่อ

          การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก  ภาครัฐจึงต้องมีมาตรการในการแก้ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ  ขณะเดียวกันต้องมีแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤตที่ใช้ในการสื่อสารกับภาคประชาชน  โดยควรดำเนินการผ่านหน่วยงานที่ภาครัฐแต่งตั้งขึ้นในการดูแลสถานการณ์ฯ และควรมีโฆษกประจำหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายในการเป็นผู้แถลงข่าวให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชนผ่านสื่อมวลชน  ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับสาร  สามารถใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจหรือใช้เพื่อประพฤติปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง  ซึ่งจะช่วยลดภาวะตื่นตระหนกให้กับสังคม  โดยข้อมูลควรต้องมีปริมาณมากพอที่จะสนับสนุนให้ประชาชนในสังคมคลายความสงสัย  ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์นั้น  นอกจากนี้  การจัดการภาวะวิกฤตทีมีประสิทธิภาพ  และการแถลงข่าวต่อสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น  จำเป็นต้องดำเนินการไปพร้อมกัน  เพราะการบริหารจัดการที่ดี  จะส่งเสริมให้การสื่อสารใดๆ กับภาคประชาชนจะเกิดความเชื่อมั่นกับภาครัฐ  ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการแก้ไขสถานการณ์วิกฤตให้เกิดผลกระทบต่อภาคประชาชนให้น้อยที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29